สมัยนี้ Facebook ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราไปแล้ว โดยจากข้อมูลพบว่าผู้ที่เข้าใช้งาน Facebook ผ่านโทรศัพท์มือถือในแต่ละวันมีมากถึง 37 ล้านบัญชี จึงไม่น่าแปลกใจที่ทุกวันนี้ หันไปทางไหนไม่ว่าจะบนไฟฟ้า ป้ายรอรถประจำทาง ห้างสรรพสินค้า หรือแม้แต่บนโต๊ะรับประทานอาหาร เราก็จะพบเห็นคนจำนวนมากเข้าไปในแพลตฟอร์มที่เรียกว่า Facebook อยู่เสมอ
เมื่อมีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ในแต่ละวันบนหน้า new feed ของแต่ละคนจึงมีโพสต์ต่างๆ ทั้งจากเพื่อน คนในครอบครัว รวมถึงเพจข่าวสารและเพจอื่นๆ ที่กดติตามไว้ ประกอบกับ อัลกอริทึม (Algorithm) ตัวใหม่ที่เพิ่มเข้ามาปรับระบบนี้ให้เข้มข้นขึ้นปรากฏขึ้นมาให้เห็นเป็นจำนวนมาก บางครั้งไม่สามารถที่จะแสดงออกมาได้จนหมด หรือผู้ใช้ Facebook อาจเลื่อนจนเหนื่อยหรือหันไปสนใจโพสต์อื่นก่อนที่จะเลื่อนมาเจอโพสต์ของเรา
ด้วยเหตุทำให้หลายคนที่กำลังมองหาช่องทางที่จะขายของออนไลน์ใน Facebook เริ่มรู้สึกกังวลว่าหากเปิดขายแล้วอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีร้านค้าคู่แข่งมากมาย อีกทั้งระบบใหม่ของ Facebook ซึ่งก็คืออัลกอริทึม (Algorithm) ที่จะคัดกรอกแต่สิ่งที่ผู้ใช้แต่ละคนอยากเห็นมาเป็นโพสต์แรกๆ ในบทความนี้จะเสนอข้อดีข้อเสียในการขายของบน Facebook เพื่อให้พ่อค้าแม่ค้าประกอบการตัดสินใจในการขายของออนไลน์บน Facebook
ข้อดีของการใช้ Facebook มาเป็นพื้นที่ขายของ ประการแรก คือ Facebook เป็นสังคมออนไลน์ประเภทหนึ่งที่เป็นที่ยอดนิยมมากที่สุดตั้งแต่มกราคมปี 2552 จนถึงปัจจุบันกระแสการใช้งาน Facebook ก็ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการมี Fan page ร้านค้าจะช่วยกรองกลุ่มลูกค้าที่สนใจในผลิตภัณฑ์คล้ายๆกัน มาเจอกัน ซึ่งประโยชน์ที่เราจะได้รับคือ การหากลุ่มเป้าหมายที่ง่ายขึ้น จากแต่เดิมที่กระจัดกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ
โดยการเปิดร้านค้าบน Facebook นอกจากจะช่วยให้เราเข้าถึงลูกค้าที่เป็นเป้าหมายได้ง่ายแล้ว ที่สำคัญเรายังสามารถพูดคุยกับลูกค้า ถามคำถาม ความคิดเห็น ความพึงพอใจ และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้เราสามารถพัฒนาหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการ จากความคิดเห็นของผู้บริโภคได้อีกด้วย โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยกลุ่มลูกค้าเลย
ประการต่อมา เมื่อมีผู้คนสนใจ หรือกด like ข้อมูลก็จะปรากฏให้เพื่อนๆ ของเขาได้เห็นไปด้วย เราจึงสามารถได้การติดตามเพิ่มเติมจากเพื่อนของเขาที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ช่วยสร้างพื้นที่ให้ผู้ภักดีต่อแบรนด์ได้บอกต่อ สามารถเฝ้า และติดตามพฤติกรรมสมาชิกได้ ในสังคมออนไลน์แบบ Facebook ลูกค้าและผู้บริโภคมักไม่ค่อยตั้งป้อมต่อต้านหรือแสดงอคติต่อการเข้าไปทำการตลาดของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง พวกเขามีแน้วโน้มที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการหรือประสบการณ์ทั้งที่ดีและไม่ดีต่อธุรกิจของเราหรือของคู่แข่ง ซึ่งหากเราให้ความสำคัญหรือใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ เราก็จะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ โดยปริยาย
ประการที่สาม การขายของบน Facebook นั้น เป็นบริการฟรีที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงดีมากต่อร้านค้าหรือธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้นและมีงบประมาณในการทำโฆษณาไม่มาก หรือยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการขายสินค้าออนไลน์เลย รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่อยากทดลองขายสินค้าก่อนว่าเป็นที่ต้องการของตลาดออนไลน์หรือไม่ได้ ซึ่งค่อนข้างดีกว่าบางพื้นที่ออนไลน์ที่เปิดให้ขายของพ่อค้าแม่ค้าอาจจะต้องถูกหักเปอร์เซ็นต์ให้กับระบบด้วย
ข้อดีประการสุดท้าย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญคือความปลอดภัยของพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้า ในเรื่องของความปลอดภัยในการซื้อขายสินค้า โดยแพลต์ฟอร์ม Facebook จะมีความปลอดภัยตั้งแต่การสมัคร การยืนยันตัวตนของเจ้าของราคา ตลอดจนการโอนเงินค่าสินค้า อีกทั้งลูกค้ายังได้ติดต่อกับผู้ขายได้โดยตรงจริงมีโอกาสที่น้อยมากกว่าการซื้อขายผ่านแพลต์ฟอร์มอื่นๆ ที่จะถูกโกงค่าสินค้า
ส่วนข้อเสียของการขายของใน Facebook ประการแรกเลยก็คือ ร้านค้าใน Facebook ของเราอาจจะไม่อยู่ในอันดับต้นๆ หรือติดหน้าแรก กรณีถ้าค้นหาใน Google ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เวลาสนใจจะซื้อสินค้าเขาจะค้นหาใน Google นั้น โอกาสที่ Facebook ของคุณจะแสดงในหน้าแรกๆ ของ Google นั้นน้อยมาก ซึ่งถ้าเราต้องการให้อยู่ในอันดับแรกๆ เมื่อมีคนค้นหา เราก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อทำการโปรโมทนั้นเอง
อีกหนึ่งข้อเสียที่พ่อค้าแม่ค้าบน Facebook จะเจอก็คือ ปัญหาการไม่แจ้งเตือนโพสต์ หรือกล่องข้อความ ปัญหาที่หลายๆ คนเจอคือลูกค้าโพสต์คอมเม้นต์สอบถามรายละเอียดสินค้า แต่เราจะไม่ได้รับการแจ้งเตือน ไม่รู้ว่ามีคนโพสต์ถาม ก็เลยไม่ได้ตอบ ทำให้เสียโอกาสในการขายไปลูกค้าไม่ได้สั่งซื้อสินค้าในในตอนนั้น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะกด like ก่อนแล้วมาดูทีหลัง ซึ่งเป็นไปได้ว่าลูกค้าอาจจะจำชื่อร้านเราไม่ได้เมื่อถึงเวลาที่จะสั่งซื้อจริงๆ อีกทั้งเราจะไม่สามารถขายของได้จากการส่งข้อความให้ลูกค้าไม่กี่ครั้ง เนื่องจากการขายของออนไลน์จะมีลักษณะที่เป็นข้อเสียอย่างหนึ่งคือการที่เราไม่ได้พูดคุย สบตากับลูกค้าเหมือนการขายของในตลาด ที่สามารถสบตา แนวโน้มและให้ลูกค้าได้ลองสัมผัสกับตัวสินค้า ดังนั้น ความยากของการขายของออนไลน์ใน Facebook ก็คือการที่เราต้องคอยคุยกับลูกค้าตลอด ไม่ว่าจะทั้งทาง inbox หรือ comment ใน Facebook ซึ่งหากเราตอบช้า ลูกค้าก็จะเบี่ยงเบนไปซื้อร้านอื่นที่เขาติดต่อไว้เช่นเดียวกัน และวิธีนี้ไม่ค่อยเหมาะสำหรับคนที่มีงานประจำ
อ่านเพิ่มเติม : เพิ่มยอด Like Facebook , โพสต์ขายของในกลุ่มให้คนเห็นเยอะ