Cyberbullying คืออะไร วิธีรับมือการกลั่นแกล้งและระรานบนไซเบอร์แบบอยู่หมัด

รู้ไหมว่าการขายของออนไลน์ก็เสี่ยง Cyberbullying ได้ ยิ่งมีชื่อเสียง ก็ยิ่งเสี่ยง อย่างที่มีข่าวให้เห็นอยู่เป็นประจำ ไอดอลสาวโดนคนโรคจิตโพสต์คุกคาม สาวน้อยช่วยแม่ไลฟ์ขายสบู่แต่เพราะหน้าตาที่โดดเด่นดึงโดนชาวเน็ตโพสต์ต่อว่าจนน้ำตาตกคาไลฟ์ หรือพ่อค้าแม่ค้าที่เน้นการขายผ่านไลฟ์สดที่ต้องเปิดเผยหน้าตาหรือรูปร่าง ย่อมต้องเคยเจอการโพสต์ข้อความดูถูกหรือหมิ่นประมาณกันมาอย่างมากมาย ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสามารถเรียกได้ว่าเป็นการบูลลี่ หรือ Cyberbullying ได้ทั้งนั้น

ในบทความนี้เราจะพาพ่อค้าแม่ค้าและเหยื่อไปหาความหมายของ Cyberbullying คืออะไร รวมถึงวิธีการรับมือเมื่อต้องตกเป็นเหยื่อแบบอยู่หมัดกัน

Cyberbullying คืออะไร 

Cyberbullying คือ การระรานทางไซเบอร์ หมายถึงการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายล้อเลียน ระรานบนโลกอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์หรือพิมพ์ด่าว่ากล่าว แต่งเรื่องราวหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย หรือการตัดต่อภาพหรือคลิป VDO ที่ส่อถึงการเจตนาล้อเลียน ความถึงการสวมรอยเป็นผู้อื่นบนโลกออนไลน์อีกด้วย

ปัจจุบันมีผู้ตกเป็นเหยื่อ Cyberbullying ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด และแพลตฟอร์มทางโซเชียลต่าง ๆ ที่เปิดให้ผู้คนสามารถสร้างแอดเคาท์หรือสร้างตัวตนได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นตัวตนจริง ๆ หรือตัวตนปลอม ๆ อีกทั้งทุกข้อมูลที่โพสต์ไปบนโซเชียลยังสามารถถูกคนไม่ประสงดีดึงไปใช้ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย

สาเหตุของ Cyberbullying สามารถเกิดได้หลากหลาย แต่ส่วนมากจากเกิดขึ้นจากความเกลียดชังและจงใจที่จะล้อเลียนเพื่อทำให้เป้าหมายเกิดความอับอายบนโลกไซเบอร์ มีทั้งทำครั้งเดียวเพื่อความสะใจแล้วหายไปและการจงใจตามคุกคามเป็นยะระเวลานาน ๆ แบบล็อกเป้าหมายจนกว่าจะพอใจนั้นเอง  ซึ่งการคุกคามนี้ก็มีหลายรูปแบบ

การคุมคามของ Cyberbullying มีอะไรบ้าง 

  1. การก่อกวน ข่มขู่คุกคาม ซึ่งจะมาในรูปแบบการส่งข้อความก่อกวนคุกคามทั้งส่งไปในกล่องข้อความข้องเหลื่อ โพสต์ลงบนโซเชียลของเหยื่อ รวมทั้งบนโซเชียลของตนเองก็ได้ด้วย
  2. การให้ร้ายใส่ความ การแกล้งแหย่ เป็นการสร้างเรื่องหลอกล่วง หรือใส่ความเหยื่อไปในทางเสื่อมเสีย เพื่อจงใจทำให้เหยื่ออับอาย
  3. การเผยแพร่ความลับ หรือการแบล็กเมล์ด้วยการนำความลับของเหยื่อมาเปิดเผยเพื่อสร้างความเสียหาย อับอายให้กับเหยื่อ
  4. การแอบอ้างชื่อ การสร้างบัญชีปลอม ไม่ว่าจะเจาะใจแฮ็กข้อมูลของเหยื่อเพื่อสร้างเรื่องหลอกลวง หรือปลอมแปลงตัวตนขึ้นมีเพื่อสร้างความเสียหายที่หนักกว่าเดิม
  5. การขโมยอัตลักษณ์ คลายกับการแอบอ้างชื่อ แต่อันนี้คือแอบเอาอัตลักษณ์ไปสร้างตัวตนให้ที่ทำให้คนอื่นหลงเชื่อได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างความเสื่อมเสียให้กับเหยื่อได้อีกด้วย
  6. การล่อลวงหรือหลอกลวง ทำให้เหยื่อหลงเชื่อเพื่อหลอกเหยื่อไปทำเรื่องไม่ดี หรือนำข้อมูลไปเปิดโปง

5 วิธีการรับมือกับ Cyberbullying

  1. Stop หยุดการกระทำทุกอย่าง ในกรณีที่เป็นการทะเลาะเบาะแว้งกันในขั้นเริ่มต้น ขอให้เหยื่อหยุดในการตอบโต้หรือระรานกลับเพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องบานปลาย และไปปรับความเข้าใจกันภายหลัง
  2. Block ปิดกั้นพวกเขาซะ ไม่ให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลของเรา ไม่ว่าจะจากทางโซเชียล หรือการเจอหน้าจริงๆ
  3. Tell บอกบุคคลที่ไว้ใจได้ หากเป็นเด็ก ๆ ควรปรึกษาพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือเพื่อนที่ไว้ใจได้ เพื่อขอความช่วยเหลือ ยิ่งถ้าหากเป็นเรื่องที่เริ่มบานปลายร้ายแรงยิ่งควรต้องบอกเพื่อให้พวกเขาช่วยจัดการ ดีกว่าจัดการคนเดียว
  4. Remove ลบภาพที่เป็นการระรานออกทันที ด้วยการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าของพื้นที่นั้น เช่นการกดปุ่มรายงานเนื้อหาบน Facebook Twitter และ IG นั้นเอง
  5. Be Strong เข้มแข็ง อดทน ไม่นำคำว่ากล่าวให้ร้ายของคนร้ายมาบั่นทอนกำลังใจตนเอง เปลี่ยนตนเองจากเหยื่อที่ถูกกระทำมาทวงความยุติธรรมคืนให้คนเอง ด้วยการแคปหลักฐานทั้งหมดเอาไว้แล้วนำไปแจ้งความดำเนินคดีได้เลย

วิธีหยุด Cyberbullying ขั้นเด็ดขาด ด้วยการใช้กฎหมาย / ระรานผู้อื่นด้วยความคะนองอาจเสี่ยงคุกไม่รู้ตัว

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าหรือผู้ที่ต้องเป็นเหยื่อ Cyberbullying อย่ามัวแต่ร้องไห้หรือเสียกำลังใจไป แต่เหยื่อยังสามารถรวบรวมหลักฐานการถูกระรานต่าง ๆ ทั้งการถูกด่าทอ การตัดต่อรูปเพื่อสร้างความเสียหาย หรือการปลอมแปลงตัวตน แล้วนำไปแจ้งความเอาผิดกับกับตำรวจได เพราะในประเทศไทยมีกฎหมายที่สามารถเอาผิดผู้ที่รังเกโดยการใช้ไซเบอร์เป็นเครื่องมือได้ ได้แก่

กฎหมายการหมิ่นประมาท มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง หรือทำให้ถูกเกลียดชัง  ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรืทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายมาตรา 328 การกระทำผิดด้วยการทำโฆษณา การสร้างเอกสาร ภาพ VDO การเผยแพร่เสียง เผยแพร่ภาพ ถือว่ามีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

กฎหมายมาตรา 392 การกระทำผิดที่ทำให้ผู้อื่นเกิดความตกใจ ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ขู่ทำร้ายนั้นมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ฎหมายมาตรา 397 การกระทำผิด รังเกผู้อื่น ข่มเหง คุกความ หรือทำให้อับอายเดือดร้อน นั้นมีความผิด ต้องโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการ Cyberbullying สามารถแก้ไขได้ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจกับตัวเอง หรือจัดการขั้นเด็ดขาดไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย ยิ่งการขายของออนไลน์ผ่านไลฟ์สดที่กำลังเป็นเทรนด์การขายหลัก ที่ทำให้พ่อค้าแม่ค้าต้องเปิดเผยหน้าตาและรูปร่างผ่านทางโซเชียลได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และอาจจะทำให้โดน Cyberbullying ได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย เราขอเป็นกำลังใจให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือเหยื่อที่ถูก Cyberbullying ทุกผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไปได้ด้วยวิธีการป้องกันและเทคนิคที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้