เช็คสุขภาพการส่งออกไทยหลังผ่านวิกฤต Covid – 19 ผลิตภัณฑ์กลุ่มไหนสุขภาพดี กลุ่มไหนป่วยเรื้อรัง

การแพร่ระบาดของโรค Covid – 19 ที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2019 จนกระทั่งลากยาวมาจนถึงปี 2020 ยาวนานกว่าครึ่งปี ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคสินค้าของผู้บริโภคไปอย่างสิ้นเชิง รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ที่ทำให้เกิดความผันผวนเป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์บางกลุ่มที่เคยเติบโตสูงช่วงหลายปีที่ผ่านมากลับซบเซาลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางกลุ่มกลับสามารถถีบตัวสูงผ่าวิกฤตขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์

โดย ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมีการเปลี่ยนแปลงในช่วงสถานการณ์ Covid – 19 ในครึ่งปีแรก ออกเป็น 5 กลุ่มอาการ สินค้ากลุ่มไหนที่มีสุขภาพดีเหมาะกับการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการ และสินค้ากลุ่มไหนที่มีสุขภาพย่ำแย่ควรชะลอการลงทุนเอาไว้ก่อนบ้าง ตามมาดูกันเลย

5 สุขภาพผลิตภัฑณ์การส่งออกไทยหลังผ่านวิกฤต Covid – 19 ครึ่งปีแรก

กลุ่มสุขภาพแข็งแรงและมีภูมิต้านทาน (Healthy)

สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรม สินค้าการเกษรตร สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม เป็นลุ่มสินค้าส่งออกที่มีความแข็งแกร่งและขยายตัวได้ดีเป็นทุนเดิม เนื่องจากเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศในเรื่องของคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ Covid – 19 เนื่องจากความต้องการด้านอาหารและสินค้าอุปโภค บริโภคบางชนิดที่ถีบตัวสูงขึ้นในช่วง Social Distancing ประกอบไปด้วย

สินค้าอุตสาหกรรม อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์
อะไหล่รถยนต์
รถจักรญานยนต์
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม
สินค้าเกษตร เนื้อสัตว์สดแช่แข็ง
ผลไม้สดแช่แข็ง
สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม อาหารสัตว์
ผักผลไม้กระปองและแปรรูป
ผลิตภัณฑ์นม
ผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร

สินค้าที่สามารถต้านวิกฤตโควิดได้ เห็นได้ชัดว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับปัจจัย 4 ที่มนุษย์ต้องการ ผู้ประกอบการที่วางแผนลงทุนขยายกิจการเตรียมพร้อมสำหรับส่งออก การลงทุนในผลิตภัณฑ์เหล่านี้นับเป็นตัวเลือกที่น่าลงทุนที่สุดเพราะเป็นสินค้าที่มีภูมิต้านทานและมีศักยภาพในการส่งออกอย่างชัดเจนนั้นเอง

กลุ่มสุขภาพฟื้นตัวชั่วคราว (Recovery)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ส่งออกที่เคยชะลอมาตลอด แต่กลับฟื้นตัวกลับมาได้ชั่วขณะหนึ่งเมื่อเกิดวิกฤต Covid – 19 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความต้องการด้านปัจจัย 4 และสามารถเก็บไว้ใช้งานได้นาน สอดคล้องกับช่องการกักตัว ประกอบด้วย

สินค้าเกษตร ข้าวโพด
ปลาสดแช่เย็นแช่เย็น
สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
ทูน่ากระป๋องและแปรรูป
ซุปและอาหารปรุงแต่ง

ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ได้แสดงศักยภาพแล้วว่าสามารถพัฒนาเพื่อเป็นสินค้าส่งออกได้ในอนาคต เจ้าของกิจการที่มองหาการลงทุนกับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สินค้ากลุ่มนี้นับว่าตัวเลือกที่ไม่เลวนัก เพียงแค่หยิบจับนำไปพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น

กลุ่มติดเชื้อ (Infected)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เคยเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง ทำยอดการส่งออกติดอันดับได้ดีมายาวนานหลายปี แต่กลับต้องสั่นคลอนเมื่อเจอสถานการณ์ Covid – 19 จนทำให้ยอดส่งออกหดตัวลงอย่างน่าตกใจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกี่ยวกับชีวติประจำวัน การท่องเที่ยว สินค้าฟุ่มเฟือย และสินค้าด้านพลังงาน ประกอบด้วย

สินค้าอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์
เครื่องสำอาง
โทรศัพท์และอุกรณ์
เครื่องใช้สำหรับการเดินทาง
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
ฯลฯ
สินค้าเกษตรกรรม ธัญพืช
เครื่องเทศและสมุนไพร
อาหารปรุงสุกแช่เย็น
สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม น้ำตาลทราย
เครื่องดื่ม
ไอศกรีม
น้ำมันพืชและสัตว์
สินค้าเชื้อเพลิง น้ำมันสำเร็จรูป
น้ำมันดิบ

อย่างไรก็ตามการชะลอตัวของสินค้าส่งออกประเภทนี้อาจจะไม่คงทนถาวรและมีแนวโน้มจะฟื้นฟูกลับมาได้หลังสถานการณ์ Covid – 19 ผ่านพ้นไป ผู้ประกอบการที่ลงทุนกับสินค้าประเภทนี้อาจจะต้องดูลาดเลากันไปก่อนและหันไปลงทุนกับกลุ่มสินค้าที่ตลาดส่งออกกำลังต้องการแทน

กลุ่มมีภาวะแทรกซ้อน (Complication)

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกต่ำเป็นทุนเดิม จากกระแสการบริโภคที่เปลี่ยนไปผสานกับการแข่งขันที่สูงกลับต้องมาเจอสถานการณ์ Covid – 19 ซ้ำเติมจนทำให้สถานการณ์การส่งออกย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิม ประกอบด้วย

สินค้าอุตสาหกรรม รถยนต์แล้วส่วนประกอบ
เครื่องจักรและส่วนประกอบ
ผลิตภัณฑ์พลาสติก
เครื่องใช้ไฟฟ้า
เหล็ก
ฯลฯ
สินค้าเกษตรกรรม ข้าว
ยางพารา
อาหารทะเลสดและแช่แข็ง
สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์

เจ้าของกิจการที่คิดจะลงทุนในสินค้าชนิดนี้อาจจะต้องชะลอไปก่อน เพราะยังต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ในการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อสินค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาเป็นสินค้ามูลค่าเพื่อการส่งออกในอนาคต

กลุ่มอาการวิกฤต (Coma)

กลุ่มสินค้าที่เผชิญการส่งที่ต่ำติดต่อกันมายาวนานหลายปี เนื่องจากปัญหาเชิงโครงสร้างมูลค่าเพิ่มต่ำจากกระแส Technological Disruption และเจอสถานการณ์เควิดซ้ำเข้าไปจนกลายเป็นวิกฤตซ้ำซ้อน ประกอบด้วย

สินค้าอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากไม้
เคหะสิ่งทอ
กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์
มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
สินค้าเกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
กุ้งสดแช่เย็นและแช่แข็ง

สินค้ากลุ่มนี้นับว่ายังไม่ควรจับมาลงทุนอย่างยิ่งในมุมผู้ประกอบการ และควรหันไปจับตากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มสร้างผลกำไรได้ดีกว่าแทน


เสริมประสิทธิภาพการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนและเติบโตออย่างมั่นคง ยกระดับเพื่อเตรียมส่งออกสู่ต่างประเทศด้วย Fillgoods รผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ครอบคลุมทุกการจัดส่ง ตอบโจทย์ทุกการขาย ด้วยฟีเจอร์ที่พัฒนามาเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจทุกขนาด

รู้จักฟีเจอร์ของเรา             สมัครสมาชิก


ข้อมูล : ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)