เช็คสิทธิประกันสังคมกันว่ามีอะไรบ้าง

อะไรจะสำคัญไปกว่าการมีประกันคุ้มครองดีๆสักกรมธรรม์ไว้ใช้ยามเราเดือดร้อน เจ็บไข้ได้ป่วย หรือประกันออมทรัพย์หลายๆบริษัทฯออกกันเต็มไปหมด แต่ก็มีประกันตัวนึงที่ถือว่าเป็นสิ่งคู่ใจสำหรับพนักงานออฟฟิศหรือพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่คุ้มค่ามากๆเสียเงินเพียงไม่กี่ร้อยก็ได้รับการประกันอย่างมากมาย นั้นก็คือประกันสังคม ซึ่งมีสิทธิมากมายให้เราเลือกใช้ในยามเดือนร้อน จนถึงยามเกษียณก็มีเงินให้อีกต่างหาก

ประกันสังคมตามกฎหมายนั้น คือ กำหนดให้บุคคลในสังคมที่มีปัญหาเดือนร้อน ทางด้านการเงินหรือประสบปัญหาเคราะร้าย ซึ่งต้องการได้รับความช่วยเหลือ โดยจะเป็นกองทุนที่ทุกคนนำมาเงินมาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งตามนโยบายทางกฎหมายแล้ว เงินสมทบกองทุนประกันสังคม คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนําส่งเข้ากองทุนประกัน สังคมทุกเดือน โดยคํานวณจากค่าจ้างจริงที่ลูกจ้างได้รับในอัตราเงินสมทบร้อยละ 5 เงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่งผู้ประกันตน สามารถทำประกันสังคมโดยจะต้องมีอายุ 15 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 60 ปี และทำงานอยู่ในสถาประกอบการนั้น ถือว่าลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ซึ่งลูกจ้างสามารถเช็คสิทธิประกันสังคมได้ง่ายๆ

  1. เช็คสิทธิประกันสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ www.sso.go.th
  2. เมื่อเข้าสู่หน้าระบบสมาชิก ก็สามารถเช็คสิทธิประกันสังคมได้ผ่าน รหัสผู้ใช้งานได้หากใครยังไม่เคยสมัครก็สมัครได้เลยทางช่องทางด้านล่าง
  3. หลังจากนั้นกดยอมรับข้อตกลงการใช้บริการประกันสังคม
  4. กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน
  5. หลังจากท่านก็จะสามารถเข้าไปเช็คตรวจสอบสิทธิประกันสังคมได้ สถานะปัจจุบันเป็นอย่างไร ส่งไปแล้วเท่าไหร่

ซึ่งการเช็คสิทธิประกันสังคมถือเป็นเรื่องที่ดีที่เราจะได้ทราบสิทธิของตัวเอง สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าสิทธิประกันสังมนั้นมีอะไรบ้าง วันนี้เรามาบอกกันว่าสิทธิประกันสังคมนั้นมีอะไรบ้าง

กรณีเจ็บไข้ได้ป่วย ณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

เมื่อจ่ายครบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือนผู้ประกันตนจะได้สิทธิ บัตรรับรองสิทธิการรักษา ตามที่ได้เลือกไว้ตั้งแต่ตอนลงทะเบียนไว้แต่แรก โดยผู้ประกันมีสิทธิตามบัตรรับรองป่วยไม่ต้องจ่ายเงิน ยกเว้นกรณีที่ต้องการการดูแลพิเศษ ห้องพิเศษต่างๆ หรือขอแพทย์เอง จะต้องชำระเงินเพิ่มเติมเอง สามารถแจ้งเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลที่ต้องการรักษาได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

เจ็บป่วยฉุกเฉิน

สามารถเข้ารับการรักษาได้เช่นกัน โดยถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐทางประกันสังคมจะจ่ายให้ตามจริง พร้อมค่าห้องไม่เกิน 700 บาท แต่หากเป็นโรงพยาบาล เอกชน ค่ารักษาจะจ่ายเท่าที่จ่ายจริงครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการที่กำหนดเท่านั้น

 รักษาฟัน

สามารถทำได้ ไม่เกิน 700 บาทต่อปี รวมเฉพาะ อุดฟัน ขัดหินปูน ถอนฟัน

กรณีคลอดบุตร

  • จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอด
  • จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้ผู้ประกันตน ในอัตรา 15,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

กรณีชราภาพ

กรณีจ่ายเงินสมทบ มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนใน อัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้น สุดลง

กรณีเสียชีวิต

ซึ่งจะมีค่าทำศพให้โดยจ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ 50,000 บาท

สำหรับใครที่ไม่ได้ทำงานประจำ เป็น Freelance หรือเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำประกันสังคมและสามารถเช็คสิทธิประกันสังคมได้เช่นกัน โดยจะเข้ามาตรา 40 ซึ่งการชำระเงินจะแตกต่างจากผู้มีรายได้ประจำ รายได้ประจำบริษัทต้นสังกัดจะหักเงินทุกเดือนอยู่แล้ว แต่ มาตรา 40 จะต้องชำระเอง โดยปัจจุบันประกันสังคมก็มีทางเลือกด้วยกัน 3 แบบคือ

1. จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน
  • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
  • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาทหากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน

2.จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่ อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และ บำเหน็จชราภาพ

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
  • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
  • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาทหากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
  • บำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน

3. จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี ได้แก่ อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต บำเหน็จชราภาพ และ เงินสงเคราะห์บุตร

  • กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 90 วัน
  • กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
  • กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 40,000 บาท
  • บำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือนเงินสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 2 คน

จะเห็นได้ว่าสิทธิประกันสังคมนั้นเยอะมาก หากใครที่ยังไม่ได้ทำแนะนำว่า ทำไว้เถอะ เสียเดือนละไม่กี่ร้อยแต่ได้สิทธิมากมาย แต่สำหรับสิทธิอื่นๆ ก็สามารถเข้าไปเช็คสิทธิประกันสังคมได้ผ่านช่องทาง www.sso.go.th