นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2020 คงไม่มีใครไม่รู้จักเชื้อไวรัส โควิด – 19 โรคระบาดที่สร้างกระแสความหวั่นวิตกไปทั่วโลก จนนำไปสู่ภาวะการล็อกดาวน์ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย และมาตรการ Social distancing หรือการเพิ่มระยะห่างระหว่างกัน ด้วยการให้ประชาชนงดออกจากที่อยู่อาศัยและให้ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าปิดทำการชั่วคราว เพื่อลดแพร่ระบาดของเชื้อโรค โควิด – 19

สถานการณ์นี้ส่งผลกระทบกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะการประกอบธุรกิจร้านอาการหรือธุรกิจค้าปลีกของร้านที่ค้าขายแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียว เพราะมาตรการนี้ไม่เพียงจะเพิ่มระยะห่างระหว่างผู้คนกับผู้คนแล้ว ยังเพิ่มระยะห่างระหว่างร้านค้ากับผู้บริโภคมากขึ้นอีกด้วย หลายธุรกิจขาดรายได้ไป 50 – 100 % ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้จะรัฐจะประกาศผ่อนปรนล็อกดาวน์และมาตรการคุมเข้มลงในช่วงเดือนพฤษภาคมหลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตลดน้อยลงแล้ว

แต่ถึงอย่างไรก็ตามสถานการณ์ที่ดีขึ้นนี้ ไม่ได้การันตีว่าบรรยากาศการทำธุรกิจค้าปลีกจะกลับมาปกติเหมือนก่อนการมาถึงของเชื้อไวรัสโคโรน่าอีกต่อไป จากการให้ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสถานการณ์ฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด -19 อาจจะกลายเป็นไวรัสประจำถิ่น ที่อยู่ในชุมชนและไวรัสนี้จะไม่มีทางหายไป” นั่นเท่ากับว่าระยะห่างระหว่างผู้บริโภคและร้านค้าปลีกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเจ้าของธุรกิจไม่พาร้านค้ากระโดดเข้าสู่วงการ SME หรือการขายของออนไลน์

อ่านเพิ่มเติม : เทคนิคเปิดร้านค้าออนไลน์ , อัปเดตฟังก์ชั่นใหม่ในทุกโซเชียล , New 4P คืออะไร , พฤติกรรม New normal , โกอินเตอร์หลังโควิด


ข่าวร้ายที่ยังมีดี สถานการณ์ โควิด -19 เพิ่มโอกาสให้ธุรกิจออนไลน์อย่างไม่น่าเชื่อ

ในช่วงที่ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกต่างเจ็บตัวกันเป็นแถว สวนทางกับธุรกิจ SME ที่สามารถทำยอดทะลุเป้าหรือไม่ก็ขายของได้ตามปกติ จนแทบเรียกได้ว่าโควิด – 19 แทบไม่มีผลกระทบใดๆ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการช้อปปิ้งสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงการกักตัว ซึ่งผลสำรวจจาก สำนักงาน กสทช ได้เปิดเผยผลสำรวจว่า ช่วงต้นปี 2563 พบว่าแพลตฟอร์มการช้อปปิ้งของไทยมียอดการใช้บริการเพิ่มขึ้นเกินกว่า 80 %  โดย Shopee เพิ่มขึ้นกว่า 478.6% และ Lazada เพิ่ม 121.5% และไม่ใช้เพียงแค่การซื้อสินค้าอุปโภคเท่านั้น สินค้าเพื่อการบริโภคอย่างอาหารปรุงสุกก็มีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น ซึ่งจากผลสำรวจจาก ETDA พบว่าผู้บริโภคกว่า 34 % ใช้บริการส่งอาหารออนไลน์เพราะหวั่นโควิด – 19 สะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มผู้บริโภคทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่าได้เข้ามาร่วมตัวกันในสังคมออนไลน์กันมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจ SME และธุรกิจออนไลน์มีโอกาสสร้างยอดขายจากลูกค้าในกลุ่มในได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


โควิด – 19  จบ แต่เทรนด์ผู้บริโภคไม่จบ และจะกลายเป็นพฤติกรรม New Normal ที่ธุรกิจต้องปรับตัวตาม

จากการต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในช่วงการระบาดของ โควิด – 19 แม้สถานการณ์โควิดจะจบไป แต่พฤติกรรมในหลาย ๆ ด้านจะพัฒนาไปสู่พฤติกรรม New Normal ของผู้บริโภค ที่จะเน้นการเสพสื่อดิจิตอลมากขึ้นและช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น  ผลสำรวจจากวีซ่าเผยว่าผู้บริโภคชาวไทยซื้อสินค้าออนไลน์ครั้งแรกเพิ่มขึ้นและจะซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไปมากถึง 67 %  เป็นปริมาณที่สูงกว่าเท่าตัวของนักช้อปทั่วโลกที่ 35 %  นับว่าเป็นชาเลนท์ใหม่ที่ผู้เจ้าของธุรกิจออนไลน์จะต้องปรับแนวทางการทำธุรกิจเพื่อตามผู้บริโภคให้ทันนั่นเอง

สื่อดิจิตอลและโซเชียลมีเดียจะกลายเป็นสื่อหลักที่ผู้บริโภคขาดไม่ได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงโควิด – 19 ได้ทำให้ผู้บริโภคปรับตัวเข้ากับการบริโภคสื่ออนไลน์มากขึ้น  อย่างการรับข่าวสาร อัปเดตสถานการณ์  โควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคเช็คข่าวเฉลี่ย 12 ครั้ง/สัปดาห์ และรับชมสื่อบันเทิง ศึกษาหาความรู้และการเรียนออนไลน์ ผ่านโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ประกอบกับสัญญาณจากกรมอนามัยที่เตือนว่าโรคโควิดจะต้องอยู่กับวิถีชีวิตทุกคนไปอีกยาวนาน แนวทางการใช้ชีวิตในอนาคตผู้บริโภคจะมีโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือประกอบการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง

  • ซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ อย่าง Shopee Lazada Facebook IG และ e – marketplace แม้จะไม่ใช้พฤติกรรมใหม่ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นวิธีที่สะดวก นอกจากจะไม่ต้องออกไปสัมผัสเชื้อไวรัสแล้ว ยังรอรับสินค้าที่ส่งมาถึงมืออย่างรวดเร็ว
  • นิยมสั่งอาหารผ่าน Food Delivery  บริการส่งอาหารให้เลือกใหม่ของผู้บริโภค ที่อยากกินอาหารปรุงสุกโดยที่ไม่ต้องออกจากบ้านไปซื้อเอง ลดการออกไปยังพื้นที่เสี่ยงไวรัส หลังจากนี้จำนวนผู้สั่งอาหารผ่านบริการนี้จะเพิ่มขึ้นและกลุ่มลูกค้าจะมากระจุกตัวในกลุ่มบริการนี้มากขึ้นแน่นอน
  • ชำระค่าสินค้าแบบไร้เงินสด การงดสัมผัสแบงค์ที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคสูง นำมาสู่การชำระค่าสินค้าด้วยวิธีโอนเงินแทนการจ่ายเงินสด ด้วยความสะดวกที่สอดคล้องการพฤติกรรมซื้อสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคหันมาใช้การชำระเงินด้วยระบบ E-payment เพิ่มมากขึ้น โดยผลสำรวจจากวีซ่าเผยว่า 61 % ของกลุ่มชาวไทย ชอบวิธีชำระเงินโดยที่ไม่ใช้เงินสดมากกว่า 
  • ประชุมและทำงานผ่าน VDO หลายบริษัทยังคงรักษาความปลอดภัยให้พนักงานงานด้วยการให้ทำงาน Work From Home ต่อไป แม้จะผ่อนปรนล็อกดาวน์แล้วก็ตาม ทำให้ความต้องการใช้แพลตฟอร์มประชุมผ่าน VDO ยังเป็นที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นแผนสำรองในกรณีที่ไวรัสกลับมาระบาด จนต้องกลับไปใช้มาตรการล็อกดาวน์อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งก็เป็นได้

ใส่ใจความสะอาดในสินค้าที่จะอุปโภคและบริโภค

การเลือกสินสินค้าและบริการของผู้บริโภคจะสร้างความเข้มงวดในด้านความสะอาดและถูกหลักอนามัยมากขึ้น มีทั้งความรู้ ความเข้าใจในวิธีดูแลรักษาความสะอาดให้ตนเองปลอดภัยจากเชื้อไวรัส  ธุรกิจที่ไม่มีมาตรการดูแลความสะอาดของสินค้า สถานที่ รวมถึงไม่มีอุปกรณ์ทำความสะอาดอย่างน้ำยาฆ่าเชื้อหรือเจลล้างมือไว้รองรับ จะไม่อยู่ในสายตาของผู้บริโภค

เปิดรับการทำกิจกรรมต่างๆ ตัวคนเดียวมากขึ้น      

ภาพเพื่อนฝูงและครอบครัวที่นั่งกินข้าวหรือสังสรรค์กันตามร้านอาหารจะเป็นเพียงภาพในอดีต ต่อจากนี้การนั่งกินข้าวคนเดียวหรือนั่งกินข้าวกับตุ๊กตาจะไม่ใช้เรื่องน่าหัวเราะอีกต่อไป แต่จะเป็นพฤติกรรมที่ผู้บริโภคทุกคนต้องปรับตัวให้ชิน เพื่อความปลอดภัยในในการใช้ชีวิตในสภาวะที่โรคโควิดยังไม่หมดไปอย่างงสมบูรณ์ ประกอบการอยู่บ้านจากมาตรการเคอร์ฟิวเป็นเวลานานจะทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งเกิดพฤติกรรมรักสันโดนชอบทำการกิจกรรมอย่างการออกกำลังกาย ทานอาหาร หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่บ้านแบบเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังคงกังวลกับการใช้ชีวิตนอกบ้าน         


ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจออนไลน์จะมีแนวทางการปรับตัวรับ New Normal อย่างไร

ผู้ค้าปลีกอย่าช้าที่จะปรับไปสู่วงการออนไลน์

จากยอดการใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นในช่วงโควิด – 19  โดยเฉพาะยอดการซื้อ – ขายสินค้าออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมาก แม้ผู้บริโภคจะไม่สามารถออกจากที่พักได้อย่างอิสระ แต่ความต้องการซื้อสินค้าก็ยังไม่หมดไปและจำเป็นต้องซื้อแม้จะต้องสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ก็ตาม และจะกลายเป็นพฤติกรรมปกตินับจากนี้เป็นต้นไป  เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับร้านค้าปลีกที่มองหาแผนสำรองที่จะพาธุรกิจของให้รอดพ้นทุกวิกฤติไปได้ ด้วยการพาสินค้าของคุณส่งไปสู่สายตาผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั่นเอง

  • สร้างช่องทางซื้อ – ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ร้านค้าที่ปรับตัวสร้างช่องทางออนไลน์ไว้รองรับลูกค้าได้ทันก่อนมาตรการเคอร์ฟิว กลายเป็นว่าสามารถพาธุรกิจรอดพ้นภาวะวิกฤตไปได้อย่างสบายๆ สำหรับร้านค้าที่วางแผนจะเปิดช่องทางออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางวางขายสินค้าเสริมจากการวางขายหน้าร้าน สามารถเริ่มได้ที่แพลตฟอร์มที่เปิดให้ใช้งานฟรี เช่น Facebook Line Instagram Shopee Lazada เป็นต้น
  • ร้านอาหาร เชื่อมพาร์ทเนอร์กับ Food Delivery – เก็บเกี่ยวลูกค้าจากช่องทางออนไลน์ เพื่อชดเชยลูกค้า Walk in ที่ทางร้านจะทำยอดได้ลดลงกว่าเดิมประมาณ 50 % จากมาตรการให้นั่งเว้นระยะห่าง 1 – 2 คนต่อโต๊ะ ด้วยการเชื่อเป็นพาร์ทเนอร์กับบริการ Food delivery ที่มีให้เลือกหลากหลายเจ้าในปัจจุบันอย่าง Get Grab Food panda และ Line man แม้จะมาพร้อมเงื่อนไขที่ต้องจ่ายค่าบริการให้พาร์ทเนอร์ แต่ก็นับว่าคุ้มค่ากับการที่ร้านจะสามารถทำยอดขายเพิ่มได้จากลูกค้าหน้าเก่าและหน้าใหม่ได้พร้อมกัน

ธุรกิจออนไลน์เดิม ปรับแผนการตลาด เตรียมรับมือคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น

จากพฤติกรรมสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่จะกลายเป็น  ที่จะดึงดูดธุรกิจค้าปลีกจากให้หลั่งใหลเข้ามาสู่วงการออนไลน์  ซึ่งธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการขายออนไลน์อยู่แต่เดิม จะต้องพบเจอกับคู่แข่งที่มากขึ้นอย่างแน่นอน ระหว่างที่ธุรกิจ SME หน้าใหม่กำลังเรียนรู้วิธีสร้างแผนการตลาดในวงการออนไลน์ ธุรกิจออนไลน์เดิมควรวางแผนปรับกลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ ให้พร้อมรับมือพฤติกรรม New Normal ของผู้บริโภคและพร้อมรับมือคู่แข่งในเวลาเดียวกัน

  • ขยายหน้าร้านบนแพลตฟอร์มโซเชียลให้ครอบคลุม – นอกจากแพลตฟอร์มเดิมที่ธุรกิจใช้เปิดหน้าร้านและสร้างยอดขายอยู่เป็นประจำ ธุรกิจควรวางแผนขยายหน้าร้านไปสู่แพลตฟอร์ม Marketplace อื่นที่เป็นจุดรวมตัวของกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ๆ มากขึ้น รวมถึงสร้างเว็บไซต์ของแบรนด์ตัวเอา ที่สามารถเก็บ Data จากลูกค้าที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมเชิงลึกของผู้บริโภค ที่จะปรับไปสู่การวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะต่อยอดการเติบโตให้ธุรกิจและเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่ม New Normal ได้ก่อนใคร
  • สร้างโฆษณา สร้าง Content ผ่านสื่อที่หลากหลาย – พฤติกรรมการรับสื่อผ่านแพลตฟอร์มดิจิตอลจะกลายเป็นช่องทางหลักแทนสื่อโทรทัศน์ ทุกแบรนด์จะสร้าง Content มาแข่งขันกันเก็บเกี่ยวลูกค้าอย่างเข้มข้น ไม่เพียงแค่การสร้าง Content ประเภทบทความหรือ VDO แต่การสร้าง Content แบบปลกใหม่ อย่าง VDO AR แบบที่เห็นกันจนชินตาในแอป TikTok หรือ IG Story จะเป็นเทรนด์ที่ผู้บริโภค New Normal จะให้ความสนใจ เพราะนอกจากจะสร้างความสนุกด้วยตัวคนเดียวได้แล้วยังสามารถแชร์ไปให้เพื่อน ๆ ร่วมสนุกผ่านแพลตฟอร์มเดียวกันได้อีกด้วย
  • สร้างความมั่นใจด้านสุขอนามัยสำหรับการบริโภค – ความสะอาดและเป็นมิตรกับสุขภาพอนามัยจะเป็นปัจจัยที่ผู้บริโภคคำนึงถึง เมื่อสั่งซื้อสินค้ากับแบรนด์ แบรนด์ควรวางมาตรการดูแลรักษาความสะอาดหน้าร้านให้ถูกสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด รวมถึงในขั้นตอนการส่งสินค้าให้ลูกค้า ก็ความมีการดูแลทำความสะอาดพัสดุระหว่างจัดส่ง เพื่อการสร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มลุกค้าทุกประเภท

ช่องทางขายสำคัญแล้ว การขนส่งสำคัญกว่า 

สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  สิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้สำหรับแบรนด์ที่ขายสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ การเลือกใช้ระบบ Logistic ระดับมาตรฐาน บริการส่งสินค้าในปริมาณมหาศาลได้อย่างรวดเร็ว  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิตอลที่มีพฤติกรรมใจร้อนและชื่นชอบความรวดเร็ว  ในปัจจุบันประเทศไทยมีบริษัทขนส่งหลากหลายแบรนด์เปิดให้บริการ มาพร้อมการการรันตีด้านบริการที่ดีแล้วรวดเร็วและโปรโมชั่นมากมาย ขนส่งเจ้าไหนถูกที่สุด  (ลิงก์) บริการดีที่สุด เป็นสิ่งที่แบรนด์ต้องหาข้อมูล เพื่อเลือกสรรบริการจากบริษัทขนส่งที่ตอบโจทย์ที่สุด


หลังสถานการณ์โควิด – 19 ผ่านพ้นไป จะเป็นเพียงสถานการณ์โรคสงบที่คนในสังคมต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตไปอย่างสิ้นเชิง จนเกิดเป็นพฤติกรรม New Normal ที่ทุกธุรกิจต้องปรับตัวตามให้ทัน การซื้อ – ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จะไม่เป็นเพียงทางเลือกอีกแล้ว แต่จะเป็นช่องทางหลักและเป็นทางรอดในการทำธุรกิจของร้านค้าทุกขนาด ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์จากการซื้อของออนไลน์ครั้งแรก จะติดใจและใช้การช้อปปิ้งผ่านช่องทางนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การทานข้าวและการทำกิจกรรมคนเดียวจะไม่ใช่พฤติกรรมแปลกแยก แต่จะเป็นสิ่งที่คุ้นคนจะมองเป็นสิ่งธรรมดามากขึ้น เจ้าของธุรกิจหรือแบรนด์ที่อยากบริหารธุรกิจให้อยู่รอดต่อไป ต้องปรับเปลี่ยนและปรับปรุงแนวทางการทำธุรกิจมาสู่ออนไลน์และวางแผนการตลาดให้พร้อมรองรับลูกค้า New Normal อย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจที่วางแผนปรับตัวได้ก่อนก็คือธุรกิจที่จะได้ไปต่อในอนาคต

วางแผนบริหารร้านค้าอย่างเป็นระบบ ให้พร้อมรับมือกับลูกค้าและออเดอร์ครบทุกรูปแบบ พร้อมเสริมมาตรฐานการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย Fillgoods ผู้ช่วยมืออาชีพของธุรกิจออนไลน์ ที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น ครบคลุมทุกการจัดส่ง ตอบโจทย์ทุกการขาย สมัครใช้งานได้ทุกฟีเจอร์ สำหรับค่าขนส่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สมัครใช้งานระบบ Fillgoods  :  https://bit.ly/2YXZxVj


ข้อมูลจาก : ETDA Marketingoops UIH Digital thebangkokinsight Reuters