ความรู้สำหรับคนทำธุรกิจ งบกำไรขาดทุนที่แม่ค้าต้องเข้าใจ

ทำธุรกิจมาตั้งนานบางเดือนก็กำไร บางเดือนก็ขาดทุน ทั้งๆที่เดือนที่ขาดทุนขายได้เยอะมาก ก็เคยเกิดข้อสงสัยว่าเอ๊ะแล้วมันขาดทุนได้ยังไง วันนี้เรามีวิธีการดูงบกำไร ขาดทุนฉบับเข้าใจง่ายมาอธิบายกัน เชื่อว่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หลายคนอาจจะไม่ได้ทำการแยกบัญชี หรือแยกค่าใช้จ่ายเป็นกิจจะลักษณะ ใช้บัญชีเดียวกันกับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทำให้เงินในบัญชีที่ใช้อยู่ปะปนกับกับเงินที่ใช้ทำธุรกิจ การที่เราทำงบกำไร ขาดทุนไว้จะช่วยให้เราทราบได้ว่าธุรกิจที่เราทำนั้น ได้กำไร หรือ ขาดทุนเท่าไหร่

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามของคำว่า กำไร และ ขาดทุนกันก่อน ถ้าความใจง่ายๆเลยก็คือ กำไรก็คือรายได้มากกว่ารายจ่าย ส่วนขาดทุนก็คือ รายได้น้อยกว่ารายจ่ายนั้นเอง ซึ่งการที่เราจะทำงบกำไรขาดทุนได้เราต้องแบ่งก่อนว่า ส่วนที่จะทำงบกำไรขาดทุนต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เราทำเท่านั้น ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าเทอมลูก ค่าใช้จ่ายซื้อของเข้าบ้าน อันนี้จะไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างเป็นการขายของออนไลน์ดีกว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้นั้นจะมีอะไรได้บ้าง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายของออนไลน์

 

1. ค่าโฆษณาเฟสบุ๊ค ที่เราใช้ในการโปรโมทแฟนเพจของเราโฆษณาสินค้า หรือยิงโฆษณาให้กลุ่มเป้าหมาย ให้เข้ามาซื้อของเรา

2. ค่าสินค้า ต้นทุนสินค้าว่าเราซื้อสินค้าอะไรมาขาย

3. ค่าเดินทาง ต้นทุนในการเดินทางไปซื้อของ หรือ เดินทางไปส่งสินค้า ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางธุรกิจเช่นกัน

4. ค่าน้ำ/ค่าไฟ บางครั้งเราอาจจะมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เราใช้ชีวิตประจำวัน แต่จริงๆแล้วหากเรามีการใช้ไฟในการทำงาน เช่นใช้ไฟในการถ่ายภาพสินค้า เปิดคอม ก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้เหมือนกัน

พอจะนึกภาพกันออกแล้วใช่ไหมว่าอันไหนน่าจะเกี่ยวกับการธุรกิจของเราที่นี้เรามาดูกันดีกว่างบกำไรขาดทุนเขาดูอะไรกันบ้าง

รายได้

รายได้ หมายถึงรายได้ที่ธุรกิจได้จากการขายของหรือสินค้า ของกินอย่างเช่น เราขายเสื้อผ้าได้ 1 ตัว ราคา 200 บาท ก็นับเป็นรายได้ 200 บาท หากได้ 10 ตัวก็นำไปคูณกับ ราคาของเสื้อก็จะได้ รายได้ทั้งหมดในวันนั้น 2,000 บาท

ต้นทุน

ต้นทุน หมายถึงรายจ่ายที่เราไปซื้อสินค้า หรือ ค่าเช่าต่างๆ ถึงแม้เราจะมีรายได้เยอะแยะมากมาย ไม่ได้บ่งบอกว่า บริษัทเรากำลังไปได้ดี เราต้องมาวิเคราะห์ที่ต้นทุนด้วย เราใช้ต้นทุนที่เยอะหรือเปล่า หรือ เยอะกว่าคู่แข่งหรือไม่ โดยการนำต้นทุนทั้งหมดที่เรามีนำมาวิเคราะห์ เพราะอย่างบางร้านค้า อาจจะขายได้ไม่เยอะมาก แต่ต้นทุนเขาต่ำทำให้กำไรเขาสูงกว่าเราก็เป็นได้ สำหรับ ต้นทุน ก็อย่างเช่น ค่าเช่าตึก ค่าเช่าพื้นที่ ค่าซื้อสินค้าที่นำมาขาย ค่าน้ำมัน ค่าเดินทางไปซื้อสินค้าต่างๆ พวกนี้ถือเป็นต้นทุนทั้งหมด หากเรามีต้นทุนของค่าจ้างพนักงานก็ต้องนำมาคำนวณด้วย

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายอื่นๆ หมายถึง ค่าใช้จ่ายอื่นที่นอกจากต้นทุนของสินค้าที่เราได้มา เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทางต่างๆ ซึ่งเหล่านื้ถือเป็นต้นทุนแฝงที่เราอาจจะไม่ได้คำนวณเข้าไปทำให้เรามองไม่เห็นก็เป็นได้ เพราะบางคนขายขนมปัง ขายแล้วได้กำไร แต่พอต้องมาจ่ายค่าไฟบ้าน กลายเป็นไม่คุ้มกับการขาย เพราะเราลืมรวมต้นทุนค่าไฟเข้าไปนั้นเอง

กำไร (ขาดทุน)

กำไร (ขาดทุน) หมายถึงสิ่งที่เราเราได้หลังจากเมื่อนำรายได้ หักต้นทุนเราก็จะทราบว่าร้านเรานั้นได้กำไร หรือ ขาดทุน ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดได้ว่า ธุรกิจของเราจะไปรอดหรือไม่ หากธุรกิจเรากำไรเยอะแน่นอนว่าเราสามารถที่จะขยายสาขาหรือเปิดร้านเพิ่มขึ้นได้ แต่หากขาดทุนเราก็ต้องมานั่งมองว่า ต้นทุนมีตัวไหนบ้างที่สามารถลดได้บ้าง หรือ ควรจะหารายได้อะไรเข้าร้านเพิ่มไหม นำสินค้าตัวใหม่ๆที่กำลังเป็นที่นิยมนำมาทดลองขายดูไหมเพื่อให้ร้านของเรายังไปต่อได้

ซึ่งความสำคัญของงบกำไรขาดทุน จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าธุรกิจเรานั้น มีสุขภาพการเงินเป็นอย่างไร มีสภาพคล่องที่ดีไหม และทำให้เราทราบว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถลดได้บ้าง เพื่อให้ต้นทุนการขายของเรานั้นไม่เยอะเกินไป เพื่อสู้กับคู่แข่งได้ ทีนี้ถ้าธุรกิจเราขาดทุนมากกว่ากำไร ก็จะกระทบในเรื่องของสภาพคล่องทางการเงิน อาจจะต้องไปกู้เงินธนาคารมาลงทุน

และหากพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนใดที่อยากจะลดค่าใช้จ่ายในการขายของออนไลน์วันนี้ Fillgoods เราก็มีระบบที่เรียกว่าเป็นมือขวาสำหรับแม่ค้าออนไลน์เลย ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ Fillgoods ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพการขายของออนไลน์ให้สะดวกขึ้นเท่านั้น แต่ยังรองรับการบริหารร้านค้าได้อย่างไม่จำกัด เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีหลายร้านค้า มีพนักงานเป็นผู้ช่วย หรือมีระบบตัวแทนขาย ก็สามารถสมัครใช้งานระบบของ Fillgoods ทุกฟังก์ชั่นโดยไม่มีการเก็บค่าใช้บริการแต่อย่างใด โดยลูกค้าที่สมัครใช้งานระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ของ Fillgoods จะจ่ายแค่ค่าขนส่งเท่านั้น

โทรเลย 021146800 กด 1

วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.