อุปสงค์ อุปทานคืออะไร ทำไมเราต้องรู้

เวลาเราฟังนักวิชาการหรือนักเศรษฐศาสตร์ เรามักจะได้ยินคำศัพท์วิชาการอยู่บ่อยๆ อย่างคำว่าอุปสงค์ อุปทาน หรือคำว่า supply , over supply ต่างๆ หลายคนฟังแล้วอาจจะงงๆหน่อยว่า แล้วคำเหล่านี้อย่าง อุปสงค์คืออะไร และมันแปลว่าอะไรกันแน่

ขออธิบายในเชิงวิชาการกันก่อนเลย อุปสงค์คือ ความต้องการซื้อสินค้า และอุปทานคือ ความต้องการขาย ซึ่งสองนี้จะเป็นตัวที่จะได้บอกว่า สินค้านั้นๆจะมีราคา และปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม และถ้าเกิดการซื้อขายกันจะเรียกว่าจุดดุลยภาพ ในทางเศรษฐศาสตร์จะมีกฎอุปสงค์ และกฎอุปทานอยู่ เพื่อใช้เป็นหลักการความสัมพันธ์ระหว่างราคากับปริมาณอยู่

กฎอุปสงค์คือ เราจะซื้อสินค้ามากขึ้นเมื่อราคานั้นต่ำลง และจะซื้อสินค้านั้นน้อยลงเมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น

กฎอุปทานคือ เราจะอยากขายสินค้านั้นเมื่อราคาสินค้านั้นสูงขึ้น และขายสินค้านั้นน้อยลงเมื่อราคานั้นต่ำลง

แต่เราอาจะเคยได้ยินเรื่องของกฎอีก 2 แบบก็คือ อุปสงค์ส่วนเกิน และอุปทานส่วนเกิน ซึ่งความหมายของสองคำนี้ก็คือ อุปสงค์ส่วนเกิน การเกิดขึ้นเมื่อความต้องการสินค้านั้นมีมากเสียจนผู้ผลิต ผลิตสินค้าให้ไม่ทัน และ อุปทานส่วนเกินก็คือผู้ผลิตผลิตออกมามากเสียจนไม่มีคนซื้อเพราะสินค้านั้นไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดอีกต่อไปแล้ว

 

ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของอยู่แล้วก็อาจจะสงสัยว่าทำไมเราจึงต้องรู้เรื่องการของอุปสงค์คือะไร อุปทานคืออะไร ซึ่งจริงๆแล้วหลักการเหล่านี้หากเราดูดีๆ เราสามารถเอามาปรับใช้การขายของได้เลย เช่นการวางแผนในเรื่องของราคาทำอย่างไรให้ราคามีจุดดุลยภาพ ที่พ่อค้าแม่ค้าก็อยู่ แล้วลูกค้าก็ได้ราคาที่รับได้ นอกที่เราจะรู้ว่าอุปสงค์อะไรแล้ว จริงๆแล้วยังมีปัจจัยอื่นอีกที่เราต้องมาดูกันก็คือ

1. รายได้ของผู้ซื้อ

ราคานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุปสงค์ของลูกค้าเรา อย่างที่บอกข้างต้นอุปสงค์คือความต้องการซื้อสินค้า แต่ถ้าหากเศรษฐกิจหรือรายได้ของคนซื้อลดลง จะทำให้สินค้าเรานั้นหากราคาสูงก็จะขายไม่ได้ ลูกค้าก็จะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกลงมา คุณภาพอาจจะไม่เทียบเท่าแต่ใช้ได้เหมือนกันมาใช้แทน

2. จำนวนผู้ซื้อ

ถ้าให้เห็นภาพง่ายๆเลยก็คือ ความต้องการซื้อหน้ากาก ในช่วงมีโควิด-19 ใหม่ๆ หน้ากากมีจำนวนจำกัด แต่คนต้องการซื้อเยอะมาก ทำให้ราคาของสินค้านั้นสูงตามไปด้วย เมื่อหน้ากากดูแทนที่ด้วยหน้ากากผ้าก็ทำให้ราคาหน้ากากนั้นถูกลง จำนวนผู้ซื้อลดลง ราคาก็จะลดลงตามไปด้วย

3. ราคาสินค้าอื่นๆ

อย่างบางช่วงเราจะเห็นได้ว่า เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือแม้กระทั่งไข่ไก่ก็มีราคาขึ้นๆลงๆ สิ่งเหล่านี้เมื่อราคาสูงมาก คนก็จะหันเหไปทานอย่างอื่นแทน เช่นเนื้อปลา เนื้อวัว ที่ราคาไม่สูงเท่า ซึ่งราคาของสินค้าทดแทนก็จะมีผลต่อราคาด้วย

4. วัฒนธรรม

เรียกว่าเป็นปัจจัยภายนอก ค่านิยมที่เปลี่ยนไป อย่างถ้าเราขายสินค้าแฟชั่น ก็ต้องเทรนให้ทันเพื่อไม่ให้สินค้าของเรานั้นค้างสต็อก ต้องตามกระแสให้ทันว่าปัจจุบันโลกนี้ไปทางทิศทางใดบ้าง

ส่วนปัจจัยที่จะกำหนดในส่วนของอุปทานหรือต้นทุนของพ่อค้าแม่ค้า ที่จะนำสินค้าเข้ามาขายก็อาจจะจำเป็นที่ต้องรู้เรื่องของอุปทานด้วย โดยปัจจุบันของอุปทานนั้นก็มีดังนี้

  1. ต้นทุนของสินค้า หลายๆครั้งพ่อค้าแม่ค้าก็จำเป็นที่ต้องขึ้นราคาสินค้าเพื่อนำมาขายเนื่องจากค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ค่าภาษีสินค้านำเข้าต่างๆ
  2. เทคโนโลยีการผลิต หากเราสามารถคิดเทคโนโลยีการผลิตได้ดีขึ้น ถูกลงก็จะทำให้พ่อค้าแม่ค้านั้นขายได้มากขึ้น ผลิตได้มากขึ้น ลูกค้าก็อาจจะได้ราคาที่ตัวเองรับได้
  3. การคาดการณ์ ต้องดูเทรนตลาดว่าจะไปทิศทางไหน เพื่อที่จะได้สั่งผลิตสินค้าได้ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้าเรียกว่าตรงกับอุปสงค์ของลูกค้าเลย

จะเห็นได้ว่าจากกล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจะเป็นอุปสงค์คืออะไร อุปทานคืออะไร นั้นเกี่ยวกับการค้าขายทั้งสิ้น หากเราสามารถเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ เราก็จะสามารถตั้งราคาและสั่งซื้อสินค้า หรือ จะผลิตสินค้าเข้ามาขายได้ถูกต้องไม่เกินปัญหา ของล้นสต็อก หรือ ปัญหาของขาดตลาดได้

แต่หากพ่อค้าแม่ค้าคนไหน อยากจะรู้ว่าสินค้าชิ้นไหนของตัวเองมีอุปสงค์อุปทานอย่างไร ก็สามารถมาใช้ระบบ Fillgoods ของเราได้ เนื่องจากระบบของเรามีระบบสต็อกที่สามารถสรุปได้ว่า สินค้าไหนเป็นสินค้าขายดี หรือสินค้าไหนหมดแล้ว เพื่อรู้ว่าความต้องการของลูกค้าในช่วงนี้เขาต้องการอะไร จะได้สั่งซื้อหรือผลิตมาตรงใจกับลูกค้า นอกจากนี้เรายังมีระบบเรียกขนส่งเข้ารับสินค้าถึงหน้าบ้านไม่จำเป็นต้องออกไปเสี่ยงโควิด-19 นอกบ้าน เรียกขนส่งเข้ามารับสินค้าได้เลย หากใครสนใจก็สามารถ โทรปรึกษาทีมงาน ฟรี!

โทรเลย 021146800 กด 1

วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.