เจาะพฤติกรรมผู้บริโภค 4 เจนเนอเรชั่น ให้ผู้ประกอบการวางแผนการตลาดสร้างยอดขายทะลุเป้า

แนวทางทำการตลาดออนไลน์ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะด้วยการยิง Ads โฆษณา หรือการทำแคมเปญบนโลกโซเซียล ผลลัพธ์ที่นักการตลาดคาดหวังมากที่สุดก็คือโฆษณานั้นจะสามารถไปถึงผู้บริโภคได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยแต่ละแบรนด์ย่อมมีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์และบริการ ทั้งเพศ สถานที่ ความชอบและช่วงอายุที่แบ่งเป็นแต่เจนเนอเรชั่น ที่มีพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลและความเชียวชาญที่แตกต่างกันไปตามช่วงอายุและประสบการณ์ การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคแบบแยกเจนเนอเรชั่นจะช่วยให้แบรนด์ค้นพบกลุ่มลูกค้าที่ต้องการและช่วยติดปีกในการทำการตลาดด้วยข้อมูลที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างยดขายได้อย่างแท้จริง


พฤติกรรมของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Baby Boomer (อายุ 55 ปีขึ้นไป)

Baby Boomer

เจนเนอเรชั่น Baby Boomer กลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489 – 2507 ยุคที่สังคมมีค่านิยมว่าต้องมีทายาทหรือลูกหลานเยอะๆ เนื่องจากเป็นยุคหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานและประชากรมาทดแทนประชากรที่สูญเสียไป  คนเจนนี้ส่วนมากเป็นคนรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือคนวัยเกษียณที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไป มีลักษณะจริงจัง ประหยัด ใช้ชีวิตทุ่มเทให้กับการทำงาน ยึดติดกับธรรมเนียมและประเพณี

ในด้านความเป็นผู้บริโภค คนเจน Baby Boomer ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการเลือกซื้อสินค้าโดยมีราคาเป็นที่ตั้ง เนื่องจากเป็นวัยที่ไม่สามารถสร้างรายได้ด้วยตัวเองจึงต้องให้ความสำคัญกับการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ถูกและคุณภาพเหมาะสมที่สุด

ในด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตคนเจนนี้สามารถใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ทางโซเชียลมีเดียเพื่อติดต่อสื่อสาร รับสื่อบันเทิง และรับข่าวสารผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งข้อมูลจากรายงานพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562 โดย ETDA ได้เปิดเผยว่า กลุ่มตัวอย่างคนเจนเนอเรชั่น  Baby Boomer

  • ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 35 นาที ต่อวัน/
  • ใช้โซเชียลมีเดีย เฉลี่ย 82.5 % /
  • ค้นหาข้อมูลออนไลน์ เฉลี่ย 69.0 %
  • อ่านบทความออนไลน์และรับข่าวสาร เฉลี่ย 67.5 %
  • ดูหนัง ฟังเพลง และรับสื่อบันเทิงบนออนไลน์ เฉลี่ย 60.6 %
  • ติดต่อสื่อสารออนไลน์ เฉลี่ย 51.5 %

แม้คนเจนเนอเรชั่น Baby Boomer จะติดภาพลักษณ์เป็นเจนที่ห่างไกลจากเทคโนโลยีมาก แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าถึงแพลตฟอร์มการติดต่อสื่อสารผ่านทางโทรศัพท์มือถือ อย่าง แอปพลิเคชั่น LINE และ Facebook ได้ รวมถึงเป็นเจนที่เชื่อถือข้อมูลที่ได้รับจากอินเทอร์เน็ตได้ดี การจับกลุ่มเป้าหมายนี้ร้านค้าต้องเน้นการขายที่ให้ข้อมูลง่ายๆ ไม่ซับซ้อน พร้อมกับวิธีการสั่งซื้อสินค้าที่สะดวก เพื่อตอบโจทย์คนเจนเนเรชั่น Baby Boomer

อ่านเพิ่มเติม : ผู้บริโภคกลุ่ม JOMO และ FOMO คืออะไร , พฤติกรรม New normal , แผนการตลาดหลัก 4P


พฤติกรรมของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น  X (อายุ 40 – 54 ปี)

Generation XGeneration X

ด้านของการใช้ชีวิตจะไม่เน้นการทำงานหนักเป็นหลัก แต่เชื่อในหลัก Work Life Balance มีความเชื่อมั่นและเป็นตัวของตัวเองสูง ให้ความสำคัญกับการศึกษาผลิตภัณฑ์จากรีวิวก่อนเลือกซื้อ มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีเนื่องจากผ่านการทำงานกับคอมพิวเตอร์มาก่อน และปรับตัวเข้ากับสมาร์ทโฟนได้ดีและค่อนข้างติดโซเชียล ซึ่งข้อมูลจากรายงานพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562 โดย ETDA ได้เปิดเผยว่ากลุ่มตัวอย่างคนเจนเนอเรชั่น X

  • ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 20 นาที 9 ต่อวัน
  • ใช้งานโซเชียลมีเดีย เฉลี่ย 87.9 %
  • ค้นหาข้อมูลออนไลน์ เฉลี่ย 72.0 %
  • รับ-ส่งอีเมล์ เฉลี่ย 69.9 %
  • ดูหนัง ฟังเพลง และรับสื่อบันเทิงบนออนไลน์ เฉลี่ย 67.9 %
  • ชำระเงินทางออนไลน์ เฉลี่ย 64.8 %
  • ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ เฉลี่ย 59.6 %
  • อ่านบทความออนไลน์และรับข่าวสาร เฉลี่ย 58.8 %

เจนเนอเรชั่น X จะเปิดใจรับเทคโนโลยีมากว่าคนเจนก่อน ทำให้เล่นโซเชียลได้หลายแพลตฟอร์มมากกว่า เนื่องจากมีความคุ้นเคยกับการทำงานผ่านการส่งอีเมล์เป็นประจำ แบรนด์สามารถจับลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยการทำ E-mail Marketing ส่วนลดและโปรโมชั่น หรือบทความรีวิวการใช้งานและประโยชน์จากการใช้สินค้าและบริการจากแบรนด์ส่งตรงไปยังลูกค้าเจน X นั่นเอง


พฤติกรรมของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Y (อายุ 23 – 39 ปี)

Generation YGeneration Y

เจนเนอเรชั่น Y คือกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2523 – 2540 เรียกได้ว่าเป็นเจนที่เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้มีความเชียวชาญพร้อมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและ IT ได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นเจนที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมการทำงานและระดับมหาวิทยาลัย

ด้านการใช้ชีวิตเจนเนอเรชั่น Y เป็นเจนที่มีความเป็นตัวของตัวเอง ชื่นชอบความรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นในด้านของบริการและการใช้ชีวิต มีความเชียวชาญด้านการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีออนไลน์ เพราะการทำงานต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก ชอบการแสดงความคิดเห็นอย่างการรีวิวสินค้าด้วยตัวเอง หรือการมีส่วนร่วมออกความเห็นบนโลกออนไลน์  อีกทั้งยังเป็นเจนเนอเรชั่นที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากที่สุดอีกด้วย ซึ่งข้อมูลจากรายงานพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562 โดย ETDA ได้เปิดเผยว่า กลุ่มตัวอย่างคนเจนเนอเรชั่น Y

  • ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10 ชั่วโมง 7 นาที ต่อวัน
  • ใช้งานโซเชียลมีเดีย เฉลี่ย 93.7 %
  • ดูหนัง ฟังเพลง และรับสื่อบันเทิงบนออนไลน์ เฉลี่ย 73.6 %
  • ค้นหาข้อมูลออนไลน์ เฉลี่ย 72.3 %
  • รับ-ส่งอีเมล์ เฉลี่ย 63.1 %
  • ชำระเงินทางออนไลน์ เฉลี่ย 62.6 %
  • อ่านบทความออนไลน์และรับข่าวสาร เฉลี่ย 56.5 %

ความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของลูกค้าเจนเนอเรชั่น Y ก็คือบริการที่รวดเร็วนั่นเอง เพราะเจนนี้ถือว่าเป็นผู้บริโภคที่ไม่ชอบรอนานและเปลี่ยนใจเร็วมากที่สุด หากร้านค้าพลาดไปแม้แต่วินาทีเดียว ก็แปลว่าอาจจะสูญเสียลูกค้ากลุ่มนี้ไปแล้ว  ร้านค้าต้องมีการตอบสนองร้านค้าแบบทันทีทันใจ จึงจะดึงผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้เข้ามาเป็นลูกค้าของร้านได้


พฤติกรรมของผู้บริโภคเจนเนอเรชั่น Z (อายุ 10 – 22 ปี)

Generation ZGeneration Z

เจนเนอเรชั่น Z คือกลุ่มคนที่เกิดหลัง พ.ศ. 2540 เกิดมาในยุคที่เทคโนโลยีดิจิตอลเฟืองฟู เต็มไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ในด้านการติดต่อสื่อสารและสื่อบัญเทิงในระบบดิจิตอล ทำให้คนเจนนี้ค่อนข้างมีความเชียวชาญและเปิดรับการใช้เทคโนโลยีมากกว่าเจนอื่น ๆ จนเรียกได้ว่ามีเทคโนโยลีเป็นปัจจัยในการใช้ชีวิตเลยทีเดียว

ด้านการใช้ชีวิตของคนเจนเนอเรชั่น Z  ส่วนมากเป็นเด็กในวัยเรียน เนื่องจากเป็นวัยที่เข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายในโลกกว้าง ทำให้มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ชื่นชอบการเรียนรู้ แต่ไม่ชอบข้อมูลที่น่าเบื่อ เน้นการให้ประสบการณ์จริงเป็นสิ่งนำทาง สามารถใช้โซเชียลมีเดียได้อย่างเชียวชาญ ซึ่งข้อมูลจากรายงานพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2562 โดย ETDA ได้เปิดเผยว่า กลุ่มตัวอย่างคนเจนเนอเรชั่น Z

  • ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10 ชั่วโมง ต่อวัน
  • ใช้งานโซเชียลมีเดีย เฉลี่ย 87.1 %
  • ดูหนัง ฟังเพลง และรับสื่อบันเทิงบนออนไลน์ เฉลี่ย 69.2 %
  • ค้นหาข้อมูลทางออนไลน์ เฉลี่ย 54.6 %
  • อ่านบทความออนไลน์และรับข่าวสาร เฉลี่ย 50.5 %
  • เล่นเกมออนไลน์ เฉลี่ย 47.0 %
  • ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ เฉลี่ย 38.5 %

เห็นได้ชัดว่าคนเจนเนอเรชั่น Z ใช้เวลาไปกับการใช้งานอินเทอร์เป็นอันดับ 2 รองจากเจน Y สามารถเข้าถึงสื่อครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มด้วยความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีมาตั้งแต่เกิด ด้วยความที่เป็นเจนที่ชอบเสพประสบการณ์ตรง การสื่อสารกับคนเจนนี้ ต้องใช้ตัวกลางอย่าง Influencer เป็นผู้เข้ามานำเสนอสินค้าแทนการที่แบรนด์จะเข้าไปนำเสนอตรงๆ เพราะคนเจนนี้เน้นความเรียลและน่าเชื่อถือได้จริงมากกว่านั่นเอง


พฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละเจนเนอเรชั่นนับว่าเปลี่ยนไปเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะการเปลี่ยนช่องทางรับสื่อมาสู่ออนไลน์ การเปิดรับเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต ทำให้แนวทางทำการตลาดของร้านค้าต้องเปลี่ยนตามให้ทัน นั่นยังรวมถึงการให้บริหารระบบการทำงานหลังปิดการขาย ที่ต้องมีความแม่นยำรวดเร็วและพร้อมสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้ตลอดเวลา ผู้ประกอบการที่วางแผนขยายกิจการต้องมีระบบจัดการหลังบ้าน ช่วยบริหารการจัดการออเดอร์ คลังสินค้า และเชื่อมต่อขนส่งอย่างเป็นระบบ เพื่อการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างครอบคลุมครบวงจร


ข้อมูล : ETDA,Posttoday,Positioningmag