ทุก ๆ องค์กรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักมีจุดเริ่มต้นมาจากการวางแผนกลยุทธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การวางแผนในด้านดังกล่าวจึงนับเป็นแนวทางในการสร้างวิสัยทัศน์ และตัวกำหนดทิศทางขององค์กรทุกแห่งว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ที่จะช่วยบ่งบอกผลลัพธ์ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้น หากองค์กรไหนขาดแผนด้านกลยุทธ์นอกจากจะไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการทำงานและการบริหารแล้ว ยังส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาวด้วย
ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพเศรษฐกิจ การเมือง โรคระบาด สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ไม่ใช่การวางแผนแบบสมมุติขึ้นมาแต่ไม่สามารถทำได้จริง เพราะการทำแบบนั้นก็เท่ากับไม่ได้ผลลัพธ์ใด ๆ จึงสรุปได้คร่าว ๆ ว่าความสำคัญของการมีแผนด้านกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับองค์กร จะช่วยพัฒนาศักยภาพและสร้างการเติบโตอย่างเป็นขั้นตอน มีรูปธรรมชัดเจน และทุกคนดำเนินการตามแผนดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เพื่อผลลัพธ์ให้เกิดในทิศทางเดียวกัน
ทำไมต้องมีกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการวางแผน
เป็นคำถามที่น่าสนใจเพื่อช่วยไขความสงสัยและวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเหตุผลที่การวางแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องทำในทุกองค์กร แยกออกได้ดังนี้
1. มีจุดมุ่งหมายชัดเจน ทุกคนเข้าใจและทำตามอย่างเป็นขั้นตอน
เหตุผลแรกเชื่อว่าช่วยสร้างความกระจ่างได้อย่างดี การมีแผนกลยุทธ์จะช่วยให้ทุก ๆ คนในองค์กรสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และเข้าใจว่าควรทำอย่างไรเพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามความคาดหวัง ตรงนี้ย่อมส่งผลถึงการเติบโตและก้าวไปถึงความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าเอาไว้
2. สร้างการปรับตัวทางธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์
โลกยุคใหม่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี จะช่วยให้องค์กรรู้เท่าทันถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น อันส่งผลสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที การบริหารต่าง ๆ ง่ายขึ้น ตัวอย่างง่าย ๆ ของการปรับตัว เช่น เปลี่ยนจากการขายหน้าร้านอย่างเดียวมาเน้นขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น หากองค์กรไหนมีแผนตรงนี้ไว้แต่แรก เริ่มวางระบบชัดเจน การทำงานของพนักงานก็จะง่ายขึ้น และปรับตัวตามยุคสมัย ยอดขายไม่มีตก
3. แต่ละฝ่ายทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเหมาะสม
การมีแผนด้านกลยุทธ์ที่ดียังช่วยให้การทำงานของแต่ละฝ่ายสามารถสร้างประสิทธิภาพที่องค์กรต้องการได้อีกด้วย เพราะทุก ๆ คนจะรู้ดีว่าเป้าหมายของตนเองคืออะไร ควรทำอย่างไรเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด การวางแผนนี้ยังถือเป็นวิธีเชื่อมโยงและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องของการทำงานในแต่ละฝ่ายเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นภายใน สร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับทุก ๆ คนในองค์กร เกิดความรักใคร สามัคคี
4. สามารถวัดและประเมินผลได้ชัดเจน
เมื่อมีการวางแผนตามขั้นตอนต่าง ๆ เรียบร้อย ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนลงมือทำ และการวัด ประเมินผลที่ออกมาว่าตรงตามมาตรฐานเพียงใด ซึ่งถือเป็นอีกเหตุผลที่จะช่วยให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง หากผลลัพธ์ที่ออกมายังไม่เป็นตามเป้าก็ต้องหาสาเหตุที่แท้จริงให้ได้ว่าเกิดจากอะไร มีวิธีแก้ไข ปรับปรุงลักษณะไหนเพื่อให้กลายเป็นผลตามที่ตั้งเป้า เรียกว่าสามารถมองเห็นจุดบกพร่องขององค์กรและแก้ไขได้ตรงจุดที่สุด
กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ มีอะไรบ้าง
มาถึงขั้นตอนสร้างกระบวนการกลยุทธ์ที่ถูกต้องควรทำอย่างไรและมีอะไรบ้าง หลัก ๆ แล้วตอบ 3 คำถามนี้ให้ได้
- ปัจจุบันองค์กรอยู่ในจุดใด?
- อนาคตข้างหน้าต้องการก้าวไปถึงขั้นไหน?
- ขั้นตอนที่จะก้าวไปทำอย่างไร?
ซึ่งทั้ง 3 ข้อ จะมีกระบวนการที่ชัดเจนและช่วยเป็นแนวทางดี ๆ สำหรับการวางแผนกลยุทธ์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการวิเคราะห์ SWOT Analysis การรู้จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในธุรกิจ จะทำให้เข้าใจว่าตอนนี้องค์กรอยู่ในจุดใดกันแน่แล้วมองเห็นอนาคตอย่างไร โดยแยกความหมายดังนี้
- S = Strength จุดแข็ง คือ ความโดดเด่นที่สุดที่องค์กรสามารถทำได้ เช่น การมีราคาสินค้าถูกกว่าคู่แข่ง
- W = Weakness จุดอ่อน คือ จุดด้อยที่เกิดขึ้นภายในองค์กรและต้องพยายามหาวิธีแก้ไขให้รวดเร็วที่สุด
- O = Opportunities โอกาส คือ โอกาสจากภายนอกองค์กรที่จะช่วยสร้างความสำเร็จได้ เช่น การสนับสนุนจากรัฐบาล
- T = Threat อุปสรรค สิ่งขัดขวางที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ไม่สามารถควบคุมด้วยตนเองได้ เช่น โรคระบาด
ขณะที่ในส่วนของกระบวนการด้านการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดขั้นตอนที่ถูกต้องจะแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย
1. การกำหนดวิสัยทัศน์ – เป็นการวางแนวทางความน่าจะเป็นของธุรกิจหรือโปรเจคนั้น ๆ ว่าจะให้ออกมาในทิศทางใด เพื่อให้ทุก ๆ คนยึดมั่นเป็นแนวทางและปฏิบัติตามให้เกิดผลออกมาดีที่สุด
2. การกำหนดพันธกิจ – หรือบางคนจะเรียกว่าภารกิจก็ได้ เป็นการกำหนดถึงสิ่งที่จะกระทำให้เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ว่าควรทำอย่างใดก่อน-หลัง
3. การกำหนดจุดมุ่งหมายให้เกิดการพัฒนา – เป็นการสร้างเป้าหมายของการวางแผนกลยุทธ์ว่าสรุปแล้วเมื่อทำสำเร็จผลจะต้องออกมาในลักษณะใด
4. การกำหนดยุทธศาสตร์ – การกำหนดวิธีที่จะทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่คาดหวังเอาไว้
5. การกำหนดแนวทางพัฒนา – คล้ายการกำหนดแผนสำรองหรือแนวทางที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคตหากมีข้อผิดพลาด หรือทำตามแผนแรกยังไม่ได้ผลตามคาดหวัง
นี่คือเรื่องราวของการวางแผนกลยุทธ์อันถือเป็นอีกความสำคัญในการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เมื่อปั้นการตลาดจนร้านค้าขายดีแบบสุดปังแล้ว ต้องเสริมด้วยบริการจาก Fillgoods เสริมธุรกิจโตอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบหลังร้านครอบคลุม ครบวงจร สะดวก ใช้งานง่าย ได้ผลลัพธ์ตรงใจ
มีปัญหาเรื่องธุรกิจออนไลน์ อยากใช้ระบบจัดการร้านค้า โทรปรึกษา Fillgoods ฟรี!
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.