พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สงสัยไหมว่า SME คืออะไร ถ้าตอนนี้มีร้านค้า มีกิจการเล็ก ๆ เป็นของตัวเองและเริ่มขายของผ่านช่องทางออนไลน์แบบจริงจังแล้ว อย่างนี้ถือว่าเป็น SME ใช่หรือไม่
SEM คำยอดฮิตที่ใคร ๆ ต่างใช้เรียกนิยามกลุ่มธุรกิจในปัจจุบัน ความจริงแล้ว SME ไม่ได้เป็นเพียงคำฮิตแต่ SME มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทั่งภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลกลุ่มธุรกิจ SME โดยเฉพาะ ในบทความนี้เราจะพาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไปรู้จักธุรกิจ SME กัน
SME คืออะไร
SME (Small and Medium Enterprises) หรือที่เรียกในชื่อภาษาไทยว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบไปด้วย คณะบุคคล บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยประเภทของ SME จะครอบคลุมกิจการหลัก 3 กิจการ ได้แก่
SME แบ่งเป็นกี่ประเภท
- กิจการการผลิต ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และกิจการเหมืองแร่ และรูปแบบการผลิตที่ทำวัตถุดิบที่มีอยู่เดิมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
- กิจการการค้า กิจการที่เกี่ยวกับการค้า ทั้งกิจการค้าส่งและกิจการค้าปลีก รูปแบบกิจการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การค้าขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงกิจการการผลิต
- กิจการบริการ กิจการเกี่ยวกับร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิงและกิจการที่เกี่ยวกับการบริการทั้งหมด
แม้ SME จะถูกจัดเป็นวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่กลับมีบทบาทในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสังคมเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดความเข้มแข็ง ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราจากการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ทำให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มคนในภูมิภาคต่างๆ นอกเมืองหลวง
SME เป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก ป้องกันการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจาก SME จะเป็นผู้นำเทรนด์คิดค้นและผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาดอยู่เสมอทำให้เกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม
ธุรกิจแบบไหนถึงจัดว่าเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้กำหนดลักษณะการแบ่งประเภทของ SME ขนาดกลางและขนาดย่อม จากรายได้และอัตราการจ้างงาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดกลาง
- กิจการการผลิต รายได้ 500 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 200 คน
- กิจการการค้า รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน
- กิจการการบริการ รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน
การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดย่อม
โดยในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท วิสาหกิจรายย่อย (Micro) และวิสาหกิจรายย่อม
- กิจการการผลิต
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 100 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
2. กิจการการค้า
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
3. กิจการการบริการ
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
รู้จักฟีเจอร์ของเรา สมัครสมาชิก
สร้างสิ่งใหม่ ลดผูกขาด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ข้อดีของการทำธุรกิจ SME
โอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างและยืดหยุ่นมากกว่า
ธุรกิจ SME เป็นการนำผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตที่มีอยู่เดิม มาแปรรูป ทำการตลาดและสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างไร้ข้อจำกัด ด้วยการเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้เงินและคนงานในการดำเนินการน้อย ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้าหาการตลาใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า มีความใกล้ชิดลูกค้าและสามารถวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวเร็ว พร้อมกับสามารถคิดกลยุทธ์ทางการตลาดขึ้นมาเจาะกลุ่มลูกค้าได้แบบตรงจุดได้อย่างคล่องตัวมากกว่าอีกด้วย
เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ธุรกิจ SME มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการเข้ามาเป็นคนกลางที่เชื่อมธุรกิจทุกขนาดเข้าด้วยกัน เป็นแนวกันชนป้องกันการผูกขาดของธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจาก ธุรกิจ SME มีความยืดหยุ่นทางด้านการลงทุนและการผลิตสินค้าชนิดใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในประเทศ พร้อมกับลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พร้อมกับกำให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ในภูมิภาค ไม่ให้กระจุกตัวแต่เพียงพื้นที่ภายในเมืองใหญ่
รัฐให้ความสำคัญและมีหน่วยงานดูแลเฉพาะ
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐมีการจัดตั้งหน่วงงานขึ้นมาดูและและส่งเสริมธุรกิจ SME ทั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน่วยงานเพื่อจัดองค์ความรู้ ประสานงานช่วยเหลือ แชร์ข้อมูลสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง
กรมการธุรกิจการค้า (DBD) เสริมความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ SME แก่ผู้บริโภคเจ้าของธุรกิจ SME สามารถลงทะเบียนร้านค้ายืนยันตัวตนหรือที่เรียกกันว่าการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร้านค้าจะได้เครื่องหมาย DBD ไปแปะที่หน้าเว็บไซต์ เป็นเครื่องหมายยืนยันว่าธุรกิจนี้ได้รับการรองรับจากกรมธุรกิจการค้าแล้วนั่นเอง
SME จัดการธุรกิจได้ไร้กังวล ธุรกิจที่ช่วยจัดการหลังร้านช่วยเหลือ
ธุรกิจ SME ที่ผันตัวเองมาจับตลาดช่องทางออนไลน์ สามารถเริ่มต้นได้ง่ายและคล่องตัว นอกจากแพลตฟอร์มที่เริ่มพัฒนาฟีเจอร์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจออนไลน์แล้ว ยังมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ตธุรกิจ SME โดยเฉพาะ โดยเฉพาะ SME ที่เปิดร้านค้าออนไลน์ที่ต้องสต๊อกสินค้า จัดการออเดอร์ แพ็คพัสดุ และเรียนขนส่ง ปัจจุบันมีระบบช่วยจัดการหลังร้านออนไลน์ครบวงจรตั้งแต่การจัดการคลังสินค้า พิมพ์ แพ็ค จัดการขนส่ง ที่เข้ามาทำให้เสริมประสิทธิภาพธุรกิจ SEM ให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมืออาชีพและมั่นคง
มีปัญหาเรื่องธุรกิจออนไลน์ อยากใช้ระบบจัดการร้านค้า โทรปรึกษา Fillgoods ฟรี!
วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.