SME คืออะไร ธุรกิจที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้จัก

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สงสัยไหมว่า SME คืออะไร ถ้าตอนนี้มีร้านค้า มีกิจการเล็ก ๆ เป็นของตัวเองและเริ่มขายของผ่านช่องทางออนไลน์แบบจริงจังแล้ว อย่างนี้ถือว่าเป็น SME ใช่หรือไม่

SEM คำยอดฮิตที่ใคร ๆ ต่างใช้เรียกนิยามกลุ่มธุรกิจในปัจจุบัน ความจริงแล้ว SME ไม่ได้เป็นเพียงคำฮิตแต่ SME มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ กระทั่งภาครัฐจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลกลุ่มธุรกิจ SME โดยเฉพาะ ในบทความนี้เราจะพาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไปรู้จักธุรกิจ SME กัน

SME คืออะไร 

SME (Small and Medium Enterprises) หรือที่เรียกในชื่อภาษาไทยว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกอบไปด้วย คณะบุคคล บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยประเภทของ SME จะครอบคลุมกิจการหลัก 3 กิจการ ได้แก่

SME แบ่งเป็นกี่ประเภท

  1. กิจการการผลิต ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และกิจการเหมืองแร่ และรูปแบบการผลิตที่ทำวัตถุดิบที่มีอยู่เดิมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
  2. กิจการการค้า กิจการที่เกี่ยวกับการค้า ทั้งกิจการค้าส่งและกิจการค้าปลีก รูปแบบกิจการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การค้าขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงกิจการการผลิต
  3. กิจการบริการ กิจการเกี่ยวกับร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิงและกิจการที่เกี่ยวกับการบริการทั้งหมด

แม้ SME จะถูกจัดเป็นวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่กลับมีบทบาทในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสังคมเป็นอย่างมาก เป็นหนึ่งในโครงสร้างที่ทำให้เศรษฐกิจเกิดความเข้มแข็ง ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินตราจากการแลกเปลี่ยนซื้อขาย ทำให้เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ไปสู่กลุ่มคนในภูมิภาคต่างๆ นอกเมืองหลวง

SME เป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก ป้องกันการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจาก SME จะเป็นผู้นำเทรนด์คิดค้นและผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาดอยู่เสมอทำให้เกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม

ธุรกิจแบบไหนถึงจัดว่าเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้กำหนดลักษณะการแบ่งประเภทของ SME ขนาดกลางและขนาดย่อม จากรายได้และอัตราการจ้างงาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้

การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดกลาง

  1. กิจการการผลิต รายได้ 500 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 200 คน
  2. กิจการการค้า รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน
  3. กิจการการบริการ รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน

การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดย่อม

โดยในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท วิสาหกิจรายย่อย (Micro) และวิสาหกิจรายย่อม

  1. กิจการการผลิต

วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน

วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 100 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 50 คน

2. กิจการการค้า 

วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน

วิสาหกิจรายย่อม  รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน

3. กิจการการบริการ  

วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน

วิสาหกิจรายย่อม  รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน

รู้จักฟีเจอร์ของเรา             สมัครสมาชิก

สร้างสิ่งใหม่ ลดผูกขาด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ข้อดีของการทำธุรกิจ SME

โอกาสทางธุรกิจเปิดกว้างและยืดหยุ่นมากกว่า 

ธุรกิจ SME เป็นการนำผลิตภัณฑ์หรือผลผลิตที่มีอยู่เดิม มาแปรรูป ทำการตลาดและสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างไร้ข้อจำกัด ด้วยการเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ใช้เงินและคนงานในการดำเนินการน้อย ทำให้สามารถปรับตัวให้เข้าหาการตลาใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า มีความใกล้ชิดลูกค้าและสามารถวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวเร็ว พร้อมกับสามารถคิดกลยุทธ์ทางการตลาดขึ้นมาเจาะกลุ่มลูกค้าได้แบบตรงจุดได้อย่างคล่องตัวมากกว่าอีกด้วย

เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 

ธุรกิจ SME มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ทั้งการเข้ามาเป็นคนกลางที่เชื่อมธุรกิจทุกขนาดเข้าด้วยกัน เป็นแนวกันชนป้องกันการผูกขาดของธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจาก ธุรกิจ SME มีความยืดหยุ่นทางด้านการลงทุนและการผลิตสินค้าชนิดใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในประเทศ พร้อมกับลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พร้อมกับกำให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ในภูมิภาค ไม่ให้กระจุกตัวแต่เพียงพื้นที่ภายในเมืองใหญ่

รัฐให้ความสำคัญและมีหน่วยงานดูแลเฉพาะ 

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าธุรกิจ SME เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทำให้ภาครัฐมีการจัดตั้งหน่วงงานขึ้นมาดูและและส่งเสริมธุรกิจ SME ทั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หน่วยงานเพื่อจัดองค์ความรู้ ประสานงานช่วยเหลือ แชร์ข้อมูลสิทธิประโยชน์ และช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง

กรมการธุรกิจการค้า (DBD) เสริมความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ SME แก่ผู้บริโภคเจ้าของธุรกิจ SME สามารถลงทะเบียนร้านค้ายืนยันตัวตนหรือที่เรียกกันว่าการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร้านค้าจะได้เครื่องหมาย DBD ไปแปะที่หน้าเว็บไซต์ เป็นเครื่องหมายยืนยันว่าธุรกิจนี้ได้รับการรองรับจากกรมธุรกิจการค้าแล้วนั่นเอง

SME จัดการธุรกิจได้ไร้กังวล ธุรกิจที่ช่วยจัดการหลังร้านช่วยเหลือ 

ธุรกิจ SME ที่ผันตัวเองมาจับตลาดช่องทางออนไลน์ สามารถเริ่มต้นได้ง่ายและคล่องตัว นอกจากแพลตฟอร์มที่เริ่มพัฒนาฟีเจอร์ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจออนไลน์แล้ว ยังมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อซัพพอร์ตธุรกิจ SME โดยเฉพาะ โดยเฉพาะ SME ที่เปิดร้านค้าออนไลน์ที่ต้องสต๊อกสินค้า จัดการออเดอร์ แพ็คพัสดุ และเรียนขนส่ง ปัจจุบันมีระบบช่วยจัดการหลังร้านออนไลน์ครบวงจรตั้งแต่การจัดการคลังสินค้า พิมพ์ แพ็ค จัดการขนส่ง ที่เข้ามาทำให้เสริมประสิทธิภาพธุรกิจ SEM ให้สามารถทำธุรกิจได้อย่างมืออาชีพและมั่นคง

มีปัญหาเรื่องธุรกิจออนไลน์ อยากใช้ระบบจัดการร้านค้า โทรปรึกษา Fillgoods ฟรี!

โทรเลย 021146800 กด 1

วันจันทร์ – วันศุกร์
เวลา 09.00 – 18.00 น.

รู้จักฟีเจอร์ของเรา             สมัครสมาชิก