“แพ็คสินค้าซ้ำ ทำยังไงดี” นับเป็นหนึ่งในปัญหารบกวนจิตใจเป็นกังวลของพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์โดยเฉพาะช่วงที่ร้านกำลังเติบโตมีออเดอร์พุ่ง แต่ก็ต้องสะดุดเมื่อรู้ว่าร้านกำลังขาดทุนแบบไม่รู้ตัว
เพราะมีการ แพ็คสินค้าซ้ำ ส่งสินค้าซ้อนไปยังปลายทาง ซึ่งการทวงถามและติดตามคืนกลับมาเป็นไปได้ยากและค่อนข้างใช้เวลาในการดำเนินการนานจนเป็นปัญหาฉุดรั้งความสำเร็จในการทำธุรกิจ ซึ่งทาง fillgoods.co ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขึ้นมาตรวจสอบ ติดตาม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการ แพ็คสินค้าซ้ำ ซึ่งบทความนี้ขอชวนพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ มาเช็คให้ชัวร์ขั้นตอนไหนขาดไปเติมให้เต็มเพื่อลดปัญหาการขาดทุน !!!
แพ็คสินค้าไม่ให้ซ้ำ ถ้าโฟกัสถูกจุด
ต่อให้สินค้าของร้านคุณมีเพียงชนิดเดียว ปัญหาการ แพ็คซ้ำ เป็นรูปแบบการผิดพลาดที่พบเจอได้บ่อยที่สุด เช่น การนับจำนวนพลาด ไม่มีสมาธิระหว่างการแพ็คสินค้า มีชื่อ ที่อยู่ ใกล้เคียงกันทำให้เกิดความสับสนและ แพ็คสินค้า เข้าไปในกล่องซ้ำหรือขาด การ แพ็คซ้ำ ทำให้ขาดทุน แพ็คขาดไม่ครบ ลูกค้าร้องเรียนรีวิวแย่ให้กับร้าน ซึ่งมีแต่เสียกับเสีย
ตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยตรวจสอบได้ในระดับเริ่มต้นและทำได้ดีคือ “การชั่งน้ำหนัก” กรณีมีทีมงานแนะนำให้ความรู้เรื่องของน้ำหนักสินค้า เปรียบเทียบว่า เช่น จ่าหน้าระบุออเดอร์ว่ามีสินค้ากล่องนี้ต้องมีกี่ชิ้น ให้ตั้งข้อสังเกตจากน้ำหนักอยู่เสมอในทุกการ แพ็คสินค้า
ตัวอย่าง สินค้ามีน้ำหนัก 200 กรัม ลูกค้าสั้งมา 5 ชิ้น น้ำหนักต่อกล่องพัสดุควรอยู่ที่ื 1,000 กรัม บวก อุปกรณ์การหุ้มห่อเล็กน้อยไม่เกิน 50 – 100 กรัม ทุกครั้งต้องตรวจเช็คโดยหารจากน้ำหนักสินค้าให้เป็นนิสัย จะช่วยจบปัญหาการ แพ็คสินค้าไม่ให้ซ้ำ ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน
Tracking แม่เหล็กควบคุมการแพ็คสินค้าไม่ให้ซ้ำ
เป็นที่ทราบกันดีว่า เลข Tracking คือตัวแปรสำคัญทุกการติดตามพัสดุ ในตลาดขนส่งรูปแบบของ เลขแทรคกิ้ง ก็แตกต่างกันไป บางค่ายรูปแบบการส่งเป็นแบบพัสดุธรรมดา ไม่สามารถ Tracking ได้ หรือถ้ารูปแบบ ลงทะเบียน ส่งด่วน ก็สามารถติดตามได้ในทุกระยะการขนส่ง
แต่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หลายคนก็ยังเคย แพ็คซ้ำ ด้วยการส่งของไปเพียงเพราะใช้ เครื่องปริ๊นท์ใบปะหน้า เกินกว่า 1 ออเดอร์ เกิดข้อผิดพลาดส่งผลให้ร้านจากที่ต้องกำไร กลายเป็นขาดทุนขึ้นมาทันที ซึ่งปัจจุบันขนส่งหลายค่ายเปิดให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ สามารถ generate เลขติดตามพัสดุ ขึ้นมาเองได้ผ่านระบบการเตรียมการฝากส่งล่วงหน้า ซึ่งสะดวกมากจากเดิมที่ต้องไปขอสติ๊กเกอร์ เลขแทรคกิ้ง มาติดเตรียมไว้ก่อน แต่พอติดเตรียมไว้เยอะ ๆ ก็ทำให้สับสน สุดท้ายก็แยกไม่ออกว่าออเดอร์ไหนเป็นของใคร โดยเลขแทรคกิ้งที่ว่าถ้าเรานำมาจับคู่แล้วแยกประเภทให้ถูกต้องด้วยการนำออเดอร์เข้าระบบภายใน fillgoods.co ก็จะมีการบริหารจัดการที่เป้นระบบเมื่อเทียบกับการใช้กล่องข้อความบนแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียดั้งเดิม ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังของการรับออเดอร์ คอนเฟิร์มและจัดส่งสินค้าเลย ก็ว่าได้ดังนั้นอยากให้บันทึกรายการอย่างถูกต้องเข้าระบบตามหมวดเมนูเพื่อลดปัญหาการ แพ็คสินค้าซ้ำ ได้อย่างมืออาชีพ
รู้จักฟีเจอร์ของเรา สมัครสมาชิก
แพ็คสินค้าไม่ให้ซ้ำ ด้วยสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์
ถ้าคุณพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ขายเสื้อผ้า รองเท้า หรือสินค้าคละสีต้องระวังประเด็นนี้ไว้มาก ๆ เพราะการ แพ็คสินค้าซ้ำ สี ซ้ำขนาด ก็ทำให้ร้านค้าวุ่นวายมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นการเลือกใช้สติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็น ตัวเลข (38 – 42) สี (เขียว เหลือง ส้ม แดง) ไซส์ (S,M,L,XL) ติดลงข้างกล่องจะยิ่งช่วยให้โอกาสการ แพ็คซ้ำ ลดลงจนกลายเป็นศูนย์ อีกทั้งยังสามารถใช้ในกระบวนการตรวจสอบก่อนที่จะส่งสินค้าไปยังปลายทางได้อีกด้วย
สติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แต่ต้องมองออกชัดเจน มองผ่านครั้งเดียวต้องรู้เลยว่าแทนค่าถึงอะไร จำนวนเท่าไร สามารถตรวจสอบได้ ที่สำคัญถ้าออกแบบให้สติ๊กเกอร์มีความสวยงาม จะกลายเป็นไอเทมสำคัญประจำแบรนด์ดูแลถึงความใส่ใจ ที่เป้าหมายแรกเพียงหวังให้ แพ็คสินค้าไม่ให้ซ้ำ เท่านั้น สู่รูปแบบการดูแล บอกลักษณะชัดเจน ทำให้ง่ายต่อทีมงานในการแพ็คสินค้าและสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า อยากให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ชาว fillgoods.co นำไปลองปรับใช้กับการทำธุรกิจของตัวเอง เพียงเท่านี้ปัญหาการ แพ็คสินค้าซ้ำ ก็จะไม่เกิดขึ้นอีก
แพ็คของอย่างไรให้เร็ว แพ็คอย่างไรไม่ให้ซ้ำ
แพ็คของเร็ว ต้องแม่นยำ : ความเร็วและความถูกต้องจำเป็นต้องมาคู่กัน มันง่ายมาก ๆ หากร้านค้าของคุณมีสินค้าประเภทเดียวและรูปแบบเดียวและมีการกำหนดจำนวนต่อกล่องพัสดุที่ตายตัว ซึ่งฟังดูถ้าร้านนี้น่าจะทำงานง่ายและไม่มีปัญหา แพ็คสินค้าซ้ำ ใช่มั้ย
แต่สิ่งที่ต้องระวังรองลงมาคือการพิมพ์ระบบจ่าหน้าด้วย เครื่องปริ๊นท์ใบปะหน้า ถ้าไม่มีการเรียงคิวใน ระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ อย่างเป็นระเบียบแล้วนั้นโอกาสที่จะติด ใบปะหน้า ซ้ำมีเปอร์เซ็นต์สูง โดยเฉพาะกรณีที่มีออเดอร์เข้ามาในช่วงเวลาเดียวกันเป็นจำนวนมาก เช่น เทศกาล 11.11 หรือวันเดือนเดียวกัน ที่เกิดขึ้นทุก ๆ เดือน
แพ็คอย่างไรไม่ให้ซ้ำ : ย้ำกรณี ชื่อ ที่อยู่ ของลูกค้าที่คล้ายคลึงกัน ก็ทำให้ทีมงานสับสน ทำให้ระบบการ แพ็คสินค้า สะดุดและทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการจัดส่งสินค้าในระดับที่ว่าตกรอบการขนส่งมีผลต่อความเร็วของขนส่งค่ายต่าง ๆ อีกด้วย
วิธีตรวจสอบการ แพ็คอย่างไรไม่ให้ซ้ำ ที่ทาง fillgoods.co แนะนำไปนั้นสามารถช่วยลดปัญหาการ แพ็คสินค้าซ้ำ ได้แน่นอน อย่าลืมนำไปเปรียบเทียบและปรับใช้กับรูปแบบและขนาดของธุรกิจ ซึ่ง ระบบบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ fillgoods อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นนั้น เราตั้งใจพัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มที่เติมเต็มความเป็นธุรกิจออนไลน์ที่สะดวกสบาย ลดเวลา และติดตามทุกความเคลื่อนไหวได้ตลอดให้คุณมีเวลาไปทำอะไรได้อีกเยอะ