ค่าเสื่อมราคาคืออะไร เปิดเทคนิคการคิดค่าเสื่อมราคาให้คุ้มค่าการลงทุน

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร เมื่อลงทุนทำธุรกิจเจ้าของกิจการย่อมต้องรู้จักความหมายของคำนี้ เพราะเกี่ยวเนื่องถึงการคำนวณผลประกอบการของบริษัท  ว่าสามารถทำกำไรในแต่ละปีได้จำนวนเท่าไหร่ และขาดทุนในแต่ละปีจำนวนเท่าไหร่

ค่าเสื่อมราคา หรือ (Depreciation) เป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องถูกคำนวณจากสินทรัพย์ถาวรของบริษัทที่ถูกจัดซื้อเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ในแต่ละปี ซึ่งส่วนมากสินทรัพย์ถาวรจะเป็นอุปกรณ์มูลค่าสูงและมีระยะใช้งานที่นานในแต่ละ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร รถยนต์ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้หากนำมูลค่าทั้งหมดมาคำนวณรวดเดียวจะทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษํทในรอบบัญชีนั้นสูง จึงต้องมีการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามระยะเวลาการใช้งานตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน

วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาคิดอย่างไร

การคำนวณค่าเสื่อมราคาทำให้บริษัทได้ทราบถึงงบประมาณที่ใช้ไปในแต่ละรอบบัญชีและผลกำไรที่สามารถสร้างได้ในแต่ละปี เช่น บริษัทซื้อความพิวเตอร์สำหรับให้พนักงานใช้ทำงานมา 1 เครื่อง เงินที่ถูกจ่ายไปเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์จะไม่ถูกคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในปีนั้นแค่งวดเดียว แต่จะนำราคาเต็มไปคำนวณค่าเสื่อมราคาเฉลี่ยตามอายุการใช้งานของอุปกรณ์นั้นนั่น

มาถึงวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคา สามารถคำนวณหลัก ๆ ได้ 4 วิธี คือ 1. วิธีเส้นตรง 2. วิธียอดลดลงทวีคูณ 3. วิธีผลรวมจำนวนปี 4. วิธีจำนวนผลผลิต และวิธีที่นิยมนำมาใช้คำนวณค่าเสื่อมราคามากที่สุด ก็คือวิธีเส้นตรงนั่นเอง

สูตรการคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรง

การคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบวิธีเส้นตรงสามารถคำนวณด้วยการนำราคาต้นทุนของอุปกรณ์ ลบด้วยมูลค่าซาก หารด้วยอายุการใช้งาน จะทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปี

ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน – มูลค่าซาก) ÷ อายุการใช้งาน

ตัวอย่าง : สมมติว่าบริษัทสั่งซื้อรถขนสินค้า 1 คัน ราคา 500,000 บาท มีมูลค่าซาก 50,000 บาท มีอายุการใช้งาน 10 ปี  สมารถตั้งสูตรคำนวณได้ ดังนี้ ค่าเสื่อมราคา = (5,000,000 -50,000) ÷ 10 ปี = 45,000 บาท

ค่าเสื่อมราคารายปีที่คำนวณออกมาได้จะถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในรอบบัญชีปัจจุบัน ช่วยให้การทำบัญชีของธุรกิจของคุณมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ แถมยังประเมินสถานการณ์ได้ล่วงหน้าอีกด้วยว่า เครื่องจักรหรืออุกรณ์ที่คุณจะลงทุนซื้อเข้ามาใช้งานคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ทำให้บริษํทคุณมียอดเงินเหลือนในแต่ละงวดเนื่องจากเป็นการหักค่าใช้จ่ายย่อยจากราคาเต็ม ทำให้คุณมีเงินนเหลือไปลงทุนในส่วนอื่นหรือนำเงินไปใช้ในการขยายธุรกิจ เสริมความแข็งแกร่งพร้อมต่อกรกับคู่แข่งได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม : ยอดขายน้อยส่งเก็บเงินปลายทางได้ไหม

เสริมประสิทธิภาพธุรกิจแบบไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคาด้วย ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ Fillgoods ยกศักยภาพธุรกิจแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ใช้งานได้ทุกฟีเจอร์

รู้จักฟีเจอร์ของเรา
สมัครสมาชิก