Blockchain คืออะไร มารู้จักเทคโนโลยียุคใหม่ ที่เข้ามาเปลี่ยนระบบการเงินให้ล้ำกว่าเดิม

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อสกุลเงินดิจิตอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างบิตคอยน์กันมาแล้ว และแน่นอนว่าเมื่อได้ยินคำว่าบิตคอยน์ คำว่าบล็อกเชน (Blockchain) ก็ย่อมต้องตามมาติด ๆ เพราะทั้งบิตคอยน์และ Blockchain เป็นสิ่งที่เหมือนซะจนเกือบจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะ Blockchain นั้นกลายมาเป็นที่รู้จักเมื่อบิตคอยน์ถือกำเนิและเติบโตมานั้นเอง Blockchain คืออะไร มีความโดดเด่นอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

Blockchain คืออะไร

บล็อกเชน หรือ Blockchain คือ ระบบที่เกิดขึ้นหลังจากบิตคอยน์ ซึ่งมีลักษณะการบันทึกข้อมูลเป็นบล็อก ๆ ติดต่อกัน สามารถกระจายข้อมูลได้อย่างเป็นธรรม โดยที่ข้อมูลจะไม่ถูกควบคุมไว้คนเพียงคนเดียว แต่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นระบบที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการประมวลผลทางธุรกรรมบนออนไลน์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างอัตโนมัติ

6 ลักษณะเด่นที่ทำให้ Blockchain ได้รับความนิยม

  • Decentralized – เป็นเครื่อข่ายแบบ peer-to-pee สามารถทำงานแบบกระจายอำนาญ  ไม่มีอยู่ใต้องค์กรหรือการควบคุมของใครเพียงคนเดียว แต่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้การประมวลข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม
  • Distributed ledger – บล็อกเชนประมวลผลโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า ledger บันทึกเป็นชุดชุดที่เรียกว่า บล็อก โดยแต่ละบล็อกสามารถประมวลผลด้วยตัวเอง
  • Immutable – เมื่อบล็อกเชนทำการประมวลข้อมูลและบันทึกเรียบร้อยแล้วมีโอกาสน้อยมากที่จะทำการแก้ข้อ ลบ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในภายหลังได้ บล็อกเชนจึงถือว่าเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง
  • Mmutable – ด้วยระบบการทำงานข้อบล็อกเชนที่มีการประมวลผลแบบ Decentralized ทำให้ข้อมูลในแต่ละบล็อกมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน
  • Openness –  ใช้ในการเผยแพร่ระบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส สามารถทำให้ทุกคนประเมินความน่าเชื่อถือของระบบได้
  • Anonymity – การธุรกรรมบนบล็อกเชนไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนผู้ทำธุรกรรม ทำให้รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ทำธุรกรรมได้

ประเภทของเครือข่าย Blockchain

เครือข่าย Blockchain แบบ Permissionless

Permissionless เป็นเครือข่าย Blockchain แบบที่ไม่มีกลไกการอนุญาตหรือกำหนดสิทธิในการเข้าถึง ทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย Lager ได้ อย่างไม่มีข้อจำกัด มีการกระจายนำนาญสูง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะผู้ยึดเอาเครือข่ายไปเป็นของตัวเอง ซึ่ง เครือข่าย Blockchain แบบ Permissionless ก็ได้แก่ บิตคอยน์และอีเธอเรียม เป็นต้น

เครือข่าย Blockchain แบบ Permissioned

Permissioned เป็นเครือข่าย Blockchain แบบที่กำหนดสิทธิการเชื่อมต่อ การอ่าน / เขียน Legger และการมีส่วนร่วมในการยืนยันธุรกรรม เป็นรูปแบบเครือข่ายที่เหมาะใช้งานในองค์กร หรือองค์กรที่มีการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น Hyperledger, Corda, Quorum

เทคโนโลยี Blockchain เชนสามารถนำไปประยุกต์การช้งานให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลายและจะกลายมาเป็นระบบที่ขับเคลื่อนโลกในอนาคตหรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไป ส่วนใครที่ทำความรู้จักเทคโนโลยีบิตคอยน์นั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บิตคอยน์คืออะไร สกุลเงินดิจิตอลบนโลกออนไลน์ที่ควรจับตามอง


ข้อมูล : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม