สิ่งที่ต้องมีหากคิด เริ่มขายของ ไม่ว่าจะออนไลน์หรือหน้าร้าน

สำหรับคนที่กำลังมีความคิดอยาก เริ่มขายของ ไม่ว่าช่องทางออนไลน์หรือการเปิดหน้าร้านก็ตาม การพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อลงทุนไปแล้วจะมีกำไรในระยะยาว ไม่ใช่แค่คิดลงทุนโดยมองว่าทำไปก่อน เพราะมันมีความเสี่ยงสูงที่คุณจะขาดทุนและกลายเป็นหนี้สิน ดังนั้นหากใครกำลังต้องการหารายได้เสริมหรือสร้างอาชีพใหม่ด้วยการ เริ่มขายของ นี่คือแนวคิดที่ต้องทบทวนให้ดีเสมอ

อ่านเพิ่มเติม : ขายของใน website ดีไหม , ขายของบน Facebook , ขายของในลาซาด้าดีอย่างไร ? , เปิดคลังแหล่งเงินทุนระยะสั้น ทางเลือกทุนหมุนเวียนที่คนธุรกิจออนไลน์ต้องรู้


แนวคิดดี ๆ ก่อนตัดสินใจ เริ่มขายของ

1. ใจรักในอาชีพนี้มากน้อยแค่ไหน

ใครว่าเป็นพ่อค้าแม่ค้าสนุก ได้จับเงินทุกวัน อันนี้ผิดอย่างแรง เพราะถ้าคุณไม่ได้มีใจรักในอาชีพนี้ตั้งแต่แรกเวลาเจอกับอุปสรรคต่าง ๆ จะทำให้เกิดความท้อ และไม่อยากทำต่อ สิ่งที่อุตส่าห์ลงทุนไปก็เท่ากับไร้ความหมาย อย่าลืมว่าการขายของต้องเจอปัญหาไม่เว้นแต่ละวัน เช่น ปัญหาจากลูกค้า, สินค้าไม่เข้าตามกำหนด, ขายไม่ดีในบางวัน และอีกสารพัดความจุกจิก อย่าพึ่งตัดสินใจลงทุนถ้าหากคิดว่ายังไม่ได้รักในอาชีพนี้มากพอ

2. สินค้าที่ขายคืออะไร

เมื่อรู้สึกว่าตนเองมีใจรักในการขายของสิ่งต่อมาก็คือ สินค้าที่ขายควรเป็นอะไร ย้ำว่าไม่ควรเลือกขายสินค้าแฟชั่นเพราะมันมาเร็วไปเร็ว ซึ่งจะทำให้คุณลงทุนเยอะแต่โอกาสที่จมทุนเพราะของเหลือมีสูง ควรเลือกสินค้าที่ตนเองถนัด มีความรู้ บวกกับเป็นสินค้าที่สามารถซื้อได้เรื่อย ๆ เพราะจะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำได้ตลอด หรือถ้าเป็นของที่ซื้อแล้วใช้ได้นานก็ต้องมีคุณภาพดีเพื่อสามารถสร้างราคาให้ได้กำไรอย่างพึงพอใจตามที่ตั้งเอาไว้

3. มีช่องทางการขายที่หลากหลาย

สมัยนี้การขายแค่ช่องทางเดียวไม่ว่าจะออนไลน์ หรือหน้าร้าน อาจไม่ได้ยอดตามที่ตั้งเอาไว้ จึงควรมองช่องทางการขายให้หลากหลาย เช่น แม้เปิดหน้าร้านก็ควรขายทางออนไลน์ด้วย หรือใครขายทางออนไลน์อย่างเดียวก็ต้องมีเพิ่มช่องทางให้เยอะ ๆ เพื่อลูกค้าหลายกลุ่มจะได้เข้ามา เช่น มีร้านในเพจเฟซบุ๊ก, ร้านในอินสตาแกรม, โฆษณาเว็บไซต์ผ่าน Google เป็นต้น

4. อดทนกับอุปสรรคที่จะเข้ามา

เรื่องนี้ต้องคิดให้นักสำหรับคนอยาก เริ่มขายของ เพราะปัญหาต่าง ๆ มักเข้ามาได้ไม่เว้นแต่ละวัน เช่น นัดลูกค้าเอาไว้แต่สินค้ายังมาไม่ถึง, ราคาตอนต้นทุนสูงกว่าที่ประกาศขายเอาไว้เมื่อได้ของมา, ลูกค้ารีวิวไม่ดี, ช่วงแรก ๆ ยอดขายไม่เกิด เป็นต้น ทุกอย่างมีวิธีแก้ไขแต่ต้องค่อย ๆ คิด และอดทนกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากคิดว่าตนเองทำได้การขายของให้รวยก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

5. ระบบการจัดการภายในร้าน

เรื่องระบบการจัดการต้องครอบคลุมในทุก ๆ ส่วนเพื่อให้มั่นใจว่าเวลา เริ่มขายของ จริง ๆ จัง ๆ แล้วจะไม่มีผลกระทบในด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น มีการจัดทำบัญชีที่ชัดเจน, มีการสรรหาคนที่เข้ามาช่วยเหลือ, รู้แหล่งต้นทุนที่ทำให้สินค้ามีราคาถูกลง, จัดการระบบสต็อกให้ชัดเจน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้หากไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรก็อย่าพึ่งคิดเปิดร้านเด็ดขาด เพราะเมื่อถึงเวลามันจะวุ่นวาย เผลอ ๆ มองไม่เห็นผลกำไรเพราะคิดเอาแต่ว่าเน้นขาย ๆ จนไม่ได้ดูเรื่องอื่น

6. เงินทุนที่เพียงพอ

ปัจจัยนี้บอกเลยว่าถือเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับคนทุนน้อย ต้องคิดให้ดีว่าทุนที่มีจะลงอย่างไรให้เหมาะสม คุ้มค่ามากที่สุด หรือถ้ามีทุนน้อยมีช่องทางการกู้เงินจากระบบใดได้บ้าง (เน้นว่าควรถูกกฎหมายเพราะอัตราดอกเบี้ยไม่แพง และไม่อันตราย) เมื่อพอมีเงินทุนต้องรู้การจัดสรรอย่างถูกหลัก อย่าเอาไปลงกับสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ควรแบ่งงบไว้ส่วนอื่น ๆ ด้วย เช่น ค่าเช่าที่, ค่าลูกน้อง, ค่าตกแต่งร้าน เป็นต้น พูดง่าย ๆ คือ ต้องรู้วิธีบริหารเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด


การคิดว่าอยากขายของเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าคิดว่าจะ เริ่มขายของ ให้ได้ผลกำไรระยะยาว ธุรกิจเกิดความยั่งยืนก็จำเป็นต้องรู้แนวทางการวางแผน รู้วิธีคิดอย่างถูกต้อง เท่านี้ก็จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในอาชีพได้อย่างน่าภูมิใจ